อิสราเอลพัฒนาวิธีเก็บ ‘ผัก-ผลไม้’ ให้สด โดยใช้คลื่นเสียง
แถลงการณ์จากมหาวิทยาลัยบาร์-อิลาน ระบุว่าคณะนักวิจัยอิสราเอลได้พัฒนาวิธีรักษาความสดของผักและผลไม้โดยประยุกต์ใช้คลื่นเสียง
แถลงการณ์ระบุว่าแนวทางใหม่นี้จะเป็นการเคลือบพืชผลด้วยอนุภาคนาโนที่กินได้โดยใช้วิธีการโซโนเคมี (sonochemistry) ซึ่งโมเลกุลได้รับปฏิกิริยาทางเคมีจากการใช้รังสีอัลตราซาวนด์ พร้อมชี้ว่าการเคลือบผักและผลไม้ด้วยวิธีคลื่นเสียงนี้ทำได้ง่าย รวดเร็ว และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทีมงานอิสราเอลสร้างการเคลือบอนุภาคนาโนจากไคโตซานที่เป็นสารธรรมชาติ ซึ่งได้มาจากโพลีเมอร์ เช่น ไคติน โพลีแซคคาไรด์ และโปรตีน
ในกระบวนการนี้ อนุภาคไคโตซานจะเกาะติดกับพื้นผิวผักหรือผลไม้ ทำให้เกิดสารเคลือบที่ให้คุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิว โดยไคโตซานยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสลายตัวตามธรรมชาติด้วย
การทดสอบสตรอว์เบอร์รีเพื่อหาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและคุณลักษณะต่างๆ เช่น ระดับน้ำตาล ความเป็นกรด และอัตราการสลายตัว พบว่าสตรอว์เบอร์รีที่เคลือบด้วยอนุภาคนาโนไคโตซานที่กินได้มีความต้านทานเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ 15 วัน…