WORLD

‘กรีนพีซ’ ส่งสาส์น ถึงผู้นำประเทศ APEC ตระหนักถึงปัญหาก๊าซเรือนกระจก

‘กรีนพีซ’ จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ส่งสาส์น ถึงผู้นำประเทศร่วมประชุม APEC หยุดฟอกเขียว – ตระหนักถึงปัญหาก๊าซเรือนกระจก วิจารณ์ โมเดลเศรษฐกิจ BCG จี้ ไทยผลักดันกองทุนช่วยเหลือฯ ยืนหยัดกับประเทศซีกโลกใต้

วันนี้ (11 พ.ย. 65) เวลา 08:45 น. กลุ่มกรีนพืซ ประเทศไทย นำโดย นาย ธารา บัวศรี ผู้อำนวยการกรีนพีช ประเทศไทย จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ เพื่อส่งข้อความถึงเหล่าผู้นำประเทศที่กำลังเดินทางประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิก หรือ เอเปค 2565 ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 หรือ COP 27 ณ สาธารณรัฐอียิปต์

กลุ่มกรีนพีซ ประเทศไทย จัดกิจกรรมชูป้าย ผ้าที่มีข้อความ “ขอเปค ต้องหยุดฟอกเขียว” และ “ผู้ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย” ใน บริเวณบึงน้ำของสวนเบญจกิติ ที่อยู่ใกล้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ซึ่งเป็นอาคารที่จัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคอีกด้วย

ทางกรีนพีซ ประเทศไทย มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยืนหยัดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ และผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง กองทุนว่าด้วยความสูญเสีย และความเสียหายสำหรับกลุ่มประเทศและชุมชนที่เสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ประเทศไทยยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2565 ในวันที่ 16-18 พฤศจิกายน ซึ่งมีโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว: Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็นวาระการประชุมหลักของการประชุม ที่มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาวิฤตสภาพภูมิอากาศ และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 จะมีการเผยแพร่คำประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (the Bangkok Golf Declaration on BCG) อย่างเป็นทางการ

นายธารา กล่าวว่า รัฐบาลระบุว่า “BCG นำเสนอแนวทางต่าง ๆ เพื่อต่อกรกับวิฤตสภาพภูมิอากาศ แต่เราเห็นข้อบกพร่องและช่องโหว่ในโมเดล เศรษฐกิจ BCG ของประเทศไทย ซึ่งใช้สิ่งแวดล้อมเป็นกลลวงในการฟอกเขียว โมเดลเศรษฐกิจ BCG ละเลยที่จะไม่กล่าวถึง ภาระความรับผิดชอบของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แล้วเราจะเรียกร้อง การชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage) ที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนได้อย่างไร

อีกทั้ง การที่จะเอื้อให้เกิด การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เป็นธรรม และยั่งยืนเต็มร้อย โมเดลเศรษฐกิจ BCG กลับสนับสนุนแนวทาง แก้ปัญหาที่ผิดพลาด เช่น การผลิตไฟฟ้าจากขยะ(โรงไฟฟ้าขยะ) เป็นต้น รวมทั้งออกกฎระเบียบหรือแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์ การจัดสรรคาร์บอนเครดิตแก่เอกชนผู้ลงทุนปลูกป่าในพื้นที่ของรัฐ ซึ่งหากยังดำเนินการต่อไปจะนำไปสู่การบังคับขับไล่ชุมชน ออกจากที่ดินทำกิน ทำให้ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่ดำรงชีพด้วยการพึ่งพาผืนดินและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์กลายเป็น อาชญากรทางสิ่งแวดล้อม” หลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในเดือนมกราคม 2561 ให้เป็นวาระแห่งชาติ อาจกล่าวได้ว่า BCG คือ กลไกประสานสารพัดนโยบายและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ของรัฐบาลประยุทธ์หลังการระบาดใหญ่ของ โควิค-19 และเป็นเครื่องจักรหลักขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง

กรีนพีซยังชี้ให้เห็นถึงคณะกรรมการบริหาร และขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วยชนชั้นนำและกลุ่มอภิมหาเศรษฐีผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมือง (oligarch) ที่ดำเนินธุรกิจที่ห่างไกลจากคำว่ายั่งยืน และมักทำการฟอกเขียวเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ก่อขึ้น

“เราต้องการเห็นสังคมไทยฝ่าฟันสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยากเย็นแสนเข็ญซึ่งถูกคุคามจากวิฤตสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง เราต้องการระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่แบ่งแยกและเอื้อให้เกิดการกระจายความมั่งคั่งและอำนาจอย่าง เป็นธรรม เศรษฐกิจที่พัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง และส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการฟื้นคืนจากวิกฤตที่ถาโถมเข้ามา” นายธารากล่าว

นายธารา กล่าวอีกว่า ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบระยะยาวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศสูงที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก แม้ว่ารัฐบาลไทยจะประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 แต่ยังห่างไกลต่อเป้าหมายตามความตกลงปารีส ยิ่งไปกว่านั้น แทบไม่ปรากฏมาตรการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวที่ออกแบบเพื่อต่อกรกับภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ มีเพียงแต่วิธีแก้ปัญหาที่ มีดพลาดซึ่งผลักดัน โดยกลุ่มผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่มีกลไกของรัฐบาลหนุนหลัง

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat