POLITICS

91 นักวิชาการ-นักคิด-นักเขียน ยื่นหนังสือถึงประธานองคมนตรี หาทางออกอดอาหาร “แบม-ตะวัน”

วันนี้ (31 ม.ค. 66) รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ ตัวแทนเครือข่ายนักวิชาการ เข้ายื่นหนังสือเรื่อง “ขอพิจารณาหาวิธีการอันเป็นมงคลต่อปัญหาวิกฤตการอดอาหารนี้” ถึงประธานองคมนตรี ที่ทำเนียบองคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. พร้อมรายชื่อเครือข่ายนักคิด นักเขียน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ รวม 91 รายชื่อ เพื่อขอพิจารณาหาวิถีทางในการยุติวิกฤติต่อชีวิตปัญหาการอดอาหารประท้วงของเยาวชนคนหนุ่มสาว ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้และเวลาล่วงเลยมานาน จนเข้าขั้นวิกฤตต่อชีวิตร่างกายของผู้ประท้วง

รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่า สิ่งสำคัญกว่าการถกเถียงเรื่องวิธีการประท้วง หรือการมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ คือการรักษาชีวิตของทั้งสองคนไว้ และเครือข่ายฯ เห็นว่าคณะองคมนตรีเป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติ มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

จึงอยากให้ประธานองคมนตรีได้ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเพื่อคลี่คลายปัญหาของสังคมก่อนจะเกิดการสูญเสีย โดยอาศัยความตามรัฐธรรมนูญมาตรา 10 ที่ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี

คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ”

การยื่นหนังสือถึงประธานองคมนตรีครั้งนี้ เป็นความพยายามครั้งที่สอง หลังจากครั้งแรกเมื่อเช้าวันที่ 20 กันยายน 2563 โดย น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล พร้อมกลุ่มประชาชนที่จะเดินขบวนมาจากท้องสนามหลวง แต่ถูกสกัดกั้นและได้ยื่นหนังสือต่อ ผบช.น. ตัวแทนในขณะนั้น ซึ่ง รศ.ดร.อนุสรณ์ ยืนยันจะติดตามความคืบหน้าของหนังสือฉบับนี้ว่าจะถึงมือประธานองคมนตรีหรือไม่ และขอให้ช่วยคลี่คลายวิกฤติของบ้านเมืองโดยเร็ว

โดยมีรายละเอียดในหนังสือ ดังต่อไปนี้

“เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทุกหมู่เหล่า รวมทั้งสาธารณชนทั่วไปแล้วว่า การอดอาหารของ นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ (ตะวัน) และนางสาว อรวรรณ ภู่พงษ์ (แบม) นานนับเป็นเวลากว่าสัปดาห์แล้วนั้น มิได้เป็นเพียงวิกฤติต่อชีวิตของบุคคลทั้งสองเท่านั้น แต่ยังเป็นเหตุการณ์ที่กระทบต่อความสงบสุขของสังคมโดยรวมอีกด้วย

ในช่วงเวลาอันคับขันนี้ ย่อมมิใช่เป็นโอกาสที่เหมาะสมในการอภิปรายถกเถียงกันถึงความเหมาะสมของวิธีการประท้วง หรือ ความถูกผิดตามกฎหมายของบุคคลทั้งสอง แต่ความสำคัญสูงสุดในกาละนี้อยู่ที่การรักษาชีวิตเป็นปฐม

เราผู้มีรายนามท้ายนี้จึงใคร่ขอท่านในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันหลักของชาติได้พิจารณาหาวิถีทางในการยุติวิกฤติต่อชีวิตของ นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ (ตะวัน) และนางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ (แบม) อันอาจส่งผลไปสู่การทวีความร้อนแรงของความขัดแย้งในสังคมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องกว่าทศวรรษแล้วอีกด้วย

จึงเรียนมาด้วยความเคารพและด้วยความหวังพึ่งในบทบาทหน้าที่ของท่านและคณะองคมนตรีทั้งคณะขอแสดงความนับถืออย่างสูง

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง พรสวรรค์ วสันต์มารค ตามไท สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพกนกรัตน์ สถิตนิรามัย รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกนิษฐ์ ศิริจันทร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกฤต ภัค สมบัติ ดวงดี คณะรัฐศาสตร์ และ สังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยากิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคารินา โชติรวี นักวิชาการอิสระจิราภรณ์ สมิธ ม.อุบลราชธานีจันจิรา ดิษเจริญจันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานีญาเรศ อัครพัฒนานุกูล คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาณรุจน์ วศินปิยมงคล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีดาราญาณา กิตติเดชเมธากุล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาดุลยวัต ยีมิน คณะรัฐศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาทวีป มหาสิงห์ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาธนวัฒน์ จิตตะคำ คณะรัฐศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาธีระพล อันมัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชธวัช มณีผ่อง ม.อุบลราชธานีธีรพจน์ ศิริจันทร์ อดีตอาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นพพร เเก้วกรต คณะรัฐศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นพ.ณภัทร ไวทยกุลพสิษฐ์ วงษ์งามดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนัทธพงษ์ โพธิ์ใบ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยานิธินันท์ ยอแสงรัตน์ดรุณี สาธร คณะ รัฐศาสตร์ และ สังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยานราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีน้ำทิพย์ เสมอเชื้อ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มหาวิทยาลัยเกียวโตปิยพงษ์ จุอ่อน คณะรัฐศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรมพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิพัฒน์ พสุธารชาติ นักวิชาการอิสระพญ.พุทธรักษา รัชชกูลพิชิตเวช ทองเทศ คณะรัฐศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาพิสมัย ศรีเนตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีภรัณยู แผ้วบาง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยามนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาโมน สวัสดิ์ศรี นักเขียนรัฐศาสตร์ ชาเเท่น คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาวิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีศรีดาวเรือง นักเขียนสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งราษฎรสุนทรี ศรีวันทนียกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาสุวิมล รุ่งเจริญ อดีตอาจารย์ประจำ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหล้าเลอทิพย์ รัชชกูลอภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อรุณี สัณฐิติวณิชย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากรโสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชาญ พนารัตน์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อรอนงค์ หัตถโกศลวงอร พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุรีรัตน์ สายสุดฉลอง สุนทราวาณิชย์สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจสุมาลี มหณรงค์ชัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ สาขาปรัชญา ธรรมศาสตร์อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชัชชัย คุ้มทวีพร วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์”

ภาพ: ศุภสัณห์ กันณรงค์

Related Posts

Send this to a friend