POLITICS

40 เครือข่ายแรงงาน ค้านร่าง กม.แรงงาน ชี้ลดทอนสิทธิ-สร้างภาระ

40 เครือข่ายแรงงาน-สภาแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ค้านร่างกฎหมายแรงงานในสภาฯ ชี้ลดทอนสิทธิ-สร้างภาระ ขอหนุนร่างฉบับ ‘ก้าวไกล’ เข้าพิจารณา

วันนี้ (29 ส.ค. 65) ที่อาคารรัฐสภา นายสุเทพ อู่อ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล สัดส่วนปีกแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือร้องเรียนจากเครือข่ายภาคประชาชน 2 กลุ่ม ได้แก่ เครือข่ายแรงงาน 40 กลุ่ม และสภาแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

นายกษิดิส ปานหร่าย ผู้แทนเครือข่ายแรงงาน กล่าวว่า เนื่องจากในวันที่ 15 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย และนายกสมาคมสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย ได้มีการยื่นหนังสือเพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่…) พ.ศ. … เนื่องจากสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มงบประมาณของภาครัฐ และสร้างภาระให้ประเทศชาติในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

ขณะที่ได้แสดงความสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่…) พ.ศ. … ที่ยื่นเข้าสภาผู้แทนราษฎรโดย นายสุเทพ อู่อ้น ด้วยหลักการหลักว่า ระบบสวัสดิการและการคุ้มครองที่ดีจะทำให้ผู้ใช้แรงงานสามารถพัฒนาตัวเองได้ต่อเนื่องภายใต้งานที่มั่นคง และจะทำให้การสร้างสรรค์ในชีวิตด้านอื่น ๆ ตามมา ขณะเดียวกันระบบกฎหมายและสวัสดิการด้านแรงงานที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้นายจ้างพัฒนาการผลิตที่เป็นมิตรกับแรงงาน ชุมชนรวมถึงจะส่งผลให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ ๆ มากขึ้น

การยื่นร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่…) พ.ศ. …. จึงเป็นการแก้ไขทุกปัญหาข้างต้นผ่านการจัดการระบบสวัสดิการแรงงานขั้นต่ำ อย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียมแก่ผู้คนในสังคม สุดท้ายแล้ว หากปราศจากการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มงบประมาณภาครัฐในการแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมมากยิ่งขึ้นในอนาคต และจะยิ่งเป็นการสร้างภาระให้ประเทศชาติมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ รายชื่อเครือข่ายแรงงานที่ได้ลงนามยื่นหนังสือครั้งนี้ไว้ ได้แก่

  1. สหพันธ์แรงงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอฯ (ส.พ.ท.)
  2. เครือข่ายแรงงาน จังหวัดฉะเชิงเทรา
  3. เครือข่ายแรงงาน พรรคก้าวไกล
  4. เครือข่ายกรรมกรแดง เพื่อประชาธิปไตย
  5. กลุ่มสหภาพแรงงานผ่านปู่เจ้าสมิงพราย และใกล้เคียง
  6. สหภาพแรงงานโฟโมสประเทศไทย
  7. สหภาพแรงงานมอลลิเก้ เฮลท์แคร์
  8. เครือข่ายแรงงาน จังหวัดชลบุรีและระยอง
  9. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์
  10. สหภาพแรงงานกิจการปั่น – ทอ แห่งประเทศไทย
  11. สหพันธ์แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ แห่งประเทศไทย
  12. สหภาพแรงงานโตโยด้า
  13. สหภาพแรงงานนิสชิน แห่งประเทศไทย
  14. กลุ่มสหภาพแรงงานปราจีนบุรี
  15. สหภาพคนท่างาน
  16. สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แห่งประเทศไทย
  17. สหภาพแรงงานนิชชิน เอสทีซี
  18. สหภาพแรงงานการทอ แห่งประเทศไทย
  19. นางวิภา มัจฉาชาติ, นางสาวทองพูล สาสังข์ กลุ่มคนงาน Try Arm
  20. ศูนย์วิจัยรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  21. สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ (CUT)
  22. สหภาพแรงงานซัมมิทสเตียริ่งสัมพันธ์
  23. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมดีสวัสดิ์
  24. สหภาพแรงงาน Suzuki
  25. สมาพันธ์แรงงาน Isuzu
  26. สหภาพแรงงานชั้นส่วนยานยนต์กรุ๊ป
  27. สหภาพแรงงานทาคาตะสัมพันธ์
  28. สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ
  29. สหภาพแรงงานเฮเวอรี่
  30. สหภาพแรงงานไทยซัมมิทโอโตโมทัฟ
  31. สหภาพแรงงานไทยซัมมิทโอโตพาร์ท
  32. สหภาพแรงงานไทยซัมมิท พลาสเทค
  33. สหภาพแรงงานไทยซัมมิท บ้านโพธิ์
  34. สหภาพแรงงานไทยฟูโกกุ
  35. สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่
  36. สหภาพไรเดอร์
  37. เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
  38. กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง
  39. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง
  40. สหภาพแรงงานเอ็นเอ็กซ์พี แมนูแฟคเจอวิ่ง

ต่อมา สภาแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ยื่นหนังสือ เช่นกัน โดยคัดค้านร่างปรับปรุง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่กลุ่มฯ มองว่าเป็นการลดทอนสิทธิทางกฎหมายของลูกจ้าง กรรมการลูกจ้าง และสหภาพแรงงาน

ด้านนายสุเทพ ประธานกรรมาธิการฯ กล่าวตอบรับว่า เมื่อรับหนังสือแล้วจะให้ทางเจ้าหน้าที่ประสานหนังสือไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอบคุณที่มายื่นหนังสือและแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจน

Related Posts

Send this to a friend