POLITICS

ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์รับคำร้อง ‘ภูมิธรรม-ทวี’ สั่งสอบคดีฮั้ว สว.แต่ไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

วันนี้ (26 มี.ค.68) ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาคดีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 วรรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนุญญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (9) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา และให้ผู้ถูกร้องทั้งสองยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 54

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณีขอให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี จนกว่าศาลรัฐธธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องยังไม่ปรากฎเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ในชั้นนี้ยังไม่สั่งให้ผู้ถกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่

แจ้งให้คู่กรณี ได้แก่ ประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) และนายภูมิธรรม (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพันตำรวจเอก ทวี (ผู้ถูกร้องที่ 2) ทราบ

สำหรับคดีนี้ พลตำรวจตรีฉัตรวรรษ แสงเพชร สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภา รวม 92 คน เข้าชื่อเสนอคำร้องต่อประธานวุฒิสภา โดยกล่าวอ้างว่า นายภูมิธรรม (ผู้ถูกร้องที่ 1) ในฐานะประธานกรรมการคดีพิเศษ และพันตำรวจเอกทวี (ผู้ถูกร้องที่ 2) ในฐานะรองประธานกรรมการคดีพิเศษ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ เสนอเรื่องขอให้ตรวจสอบกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2567 ต่อคณะกรรมการคดีพิเศษ เพื่อมีมตให้การกระทำความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) เป็นการแทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการการเลือกตั้ง โดยใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเครื่องมือแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นการกลั่นแกล้ง กดดัน ข่มขู่ และครอบงำสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจและฝ่าฝืนหลักนิติธรรม

จึงถือได้ว่าผู้ถูกร้องทั้งสองไม่มีความชื่อสัตย์สจริตเป็นที่ประจักษ์และมีพฤติกรรมเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรธานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat