POLITICS

‘ภูมิธรรม’ ประชุมแก้ปัญหาน้ำท่วมเหนือ ย้ำรัฐบาลเอาอยู่ไม่ซ้ำรอยปี 54

‘ภูมิธรรม’ นั่งหัวโต๊ะประชุมแก้ปัญหาน้ำท่วมเหนือ เตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนก รัฐบาลเอาอยู่ไม่ซ้ำรอยปี 54

วันนี้ (22 ส.ค. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมหารือการบริหารจัดการน้ำ (แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ) ที่กรมชลประทานว่า วันนี้เป็นการประชุมฉุกเฉินของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ที่เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมเนื่องจากกรณีน้ำท่วมในภาคเหนือ ปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นกับฝนที่ตกลงมาอยู่ในจุดที่น่าเป็นห่วง เราไม่ได้นิ่งนอนใจได้มีการประสานงาน และทำงานไปบ้างแล้ว กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง และสั่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ดูเรื่องของการป้องกันภัย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งกรมชลประทานไปแล้ว เพื่อความไม่ประมาทและข้อห่วงใยทั้งหมดที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์ก็มีความเป็นห่วง จึงอยากฝากให้ดูแลประชาชน ซึ่งบางส่วนได้ทุเลาลงไปแล้ว วันนี้ที่ประชุมได้มีการทบทวนแผนงานที่ได้กำหนดในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยแผนป้องกันน้ำ 3 ปีด้วย

ส่วนแผนเฉพาะหน้าได้ให้กระทรวงมหาดไทยตั้งศูนย์แต่ละจังหวัด มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนกลาง ประสานหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา และสุโขทัย โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการแล้ว ให้ไปดูข้อกฎหมายต่าง ๆ ตรงไหนที่สามารถประเมินได้ว่าจะเกิดอุทกภัยให้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ เพื่อจะได้ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันภัย

ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ไปดูแลเรื่องของชลประทานทั้งหมด ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สิ่งที่สบายใจคือเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำในเขื่อน 60% เหลืออีก 40% ที่สามารถรองรับได้ จังหวัดเชียงราย และพะเยาจะไหลลงแม่น้ำโขง เป็นน้ำหลากใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จะคลี่คลายได้ยกเว้นจะมีฝนตกลงมาอีก กรมชลประธานได้สั่งการให้ สทนช.ประสานกระทรวงคมนาคม บางส่วนที่มีน้ำหลากที่มีบางสิ่งที่ขวางน้ำ จุดไหนที่เป็นจุดระบายน้ำทั้งหมด ต้องแจ้งประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน ที่จะมีการสร้างสะพานชั่วคราว ก่อนประสานกระทรวงกลาโหมนำสะพานแบริ่งมา สิ่งสำคัญที่สุดคือข้อมูลส่วนหน้าของ สทนช.อยู่ที่สุโขทัย ต้องรวบรวมข้อมูลสั่งให้รถโมบายที่ได้รับข้อมูลลงพื้นที่ให้ตรงกับปัญหาในจุด โดยข้อมูลทั้งหมดจะสามารถป้องกันภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ พร้อมเร่งบูรณาการทุกกระทรวง ให้รองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ

ขณะที่สถานการณ์ในจังหวัดสุโขทัย แม่น้ำยมในขณะนี้มีการปล่อยน้ำ 1,600-1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีซึ่งเราพยายามกระจายน้ำให้ออกไปทางซ้ายและขวา ต้องมีการเร่งระบายไปที่แม่น้ำน่าน เพื่อให้ไหลไปสู่เขื่อนสิริกิติ์ สถานการณ์เวลานี้พื้นที่จังหวัดพะเยา แพร่ และน่านประสบปัญหาน้ำท่วมหลัก เมื่อเข้าสู่ลำน้ำสำคัญคือ แม่น้ำยม หรือแม่น้ำน่านก็พยายามระบายออกซ้ายขวา เพื่อให้ถึงเขื่อนเจ้าพระยาน้อยที่สุด พรุ่งนี้ (23 ส.ค.67) ตนเองจะลงพื้นที่ด่วนด้วย ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการมีอยู่ทุกจังหวัดทั้งพะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน ขณะนี้จังหวัดพะเยาถือเป็นต้นแม่น้ำยม ซึ่งตนเองจะทำให้ดีที่สุด

ร้อยเอกธรรมนัส ยังกล่าวว่าปัจจุบันอำเภอจุน จังหวัดพะเยา น้ำจะไหลเข้าสู่ลำน้ำปิง และเราจะระบายออกที่แม่น้ำโขง ซึ่งตอนนี้จังหวัดพะเยา น่าน และแพร่มีจำนวนน้ำท่วมมากที่สุด ส่วนจังหวัดที่มีโอกาสเสี่ยงจะน้ำท่วมอย่าง เช่น จังหวัดสุโขทัย และพิษณุโลกนั้น ส่วนจังหวัดแพร่มีการระบายน้ำคาดว่าจะไหลสู่จังหวัดสุโขทัยในระยะ 3 วัน ช่วงนี้จะต้องมีการระบายน้ำออกให้เยอะที่สุด เพื่อให้น้ำในแม่น้ำยมระบายน้ำสู่แม่น้ำน่านให้มากที่สุด และไหลไปสู่เขื่อนสิริกิติ์บางส่วน และให้บางส่วนไหลลงที่แม่น้ำโขง

ส่วนแม่น้ำน่านจะสามารถรองรับปริมาณน้ำได้หรือไม่นั้น ได้สั่งการและควบคุมน้ำ ต้องระบายให้เร็วที่สุด โดยแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะต้องรองรับน้ำจากเหนือให้ได้้ ทั้งนี้ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าบางจังหวัดอาจจะมีน้ำท่วมหนักกว่าปี 2554 ขออย่าสร้างความตระหนกตกใจ แค่นี้ประชาชนเดือดร้อนมากพอแล้ว เพราะเราคิดว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ดำเนินการได้ ถ้าไม่ทำอะไรเลยน้ำมาก็จะหนัก ถ้าฝนไม่ตกก็จะเบา และต้องดูด้วยว่าเรามีศักยภาพมากแค่ไหน ไม่มีอะไรที่เหนือบ่ากว่าแรง ยืนยันว่า “เอาอยู่” ขณะนี้ยังไม่มีพายุเข้า ซึ่งเราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ด้านร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่าปริมาณน้ำปี 2554 กับปีนี้ ไม่เหมือนกัน ไม่อยากให้ประชาชนต้องตื่นตระหนก และเขื่อนหลักทั้ง 3 แห่งยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้หรือไม่ ซึ่งลำน้ำสาขาซ้ายขวาต้องเร่งระบายออก บริเวณไหนที่เป็นที่ เป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องมีการเก็บเกี่ยวและจำเป็นต้องต้องใช้เป็นพื้นที่ระบายน้ำ ในพื้นที่แปลงเกษตรกรและต้องไม่รบกวนบ้านเรือนประชาชน ซึ่งวิธีการบริหารจัดการน้ำมีหลายรูปแบบ ทั้งหลักวิชาการและวิชาโกง

ทุกกระทรวงเรามีการบูรณาการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเฉพาะหน้าอันไหนที่สามารถแก้ไขได้จะเร่งแก้ไข ส่วนเรื่องงบประมาณ การถ้าไม่เพียงพอในการแก้ไขก็สามารถใช้งบกลาง มาช่วยเหลือได้ รวมทั้งมีศูนย์บัญชาการในแต่ละจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด ดูแลอยู่สามารถที่จะแจ้งเตือนได้

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat