POLITICS

‘จุลพันธ์’ แจงกระทู้สภาฯ นโยบายแก้หนี้นอกระบบของรัฐบาล มั่นใจได้ผล

‘จุลพันธ์’ แจงกระทู้สภาฯ นโยบายแก้หนี้นอกระบบของรัฐบาล มั่นใจได้ผล ยุติวงจรดอกเบี้ยโหด พร้อมชู ‘พิโกไฟแนนซ์’ รื้อโครงสร้างหนี้นอกระบบ

วันนี้ (14 ธ.ค. 66) นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ตอบกระทู้ถามสดต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ต่อการแก้ปัญหาหนี้ให้กับประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลว่า การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลอยู่ที่การสมัครใจ และเข้าแจ้งรายละเอียดกับช่องทางที่รัฐบาลกำหนดไว้

อย่างไรก็ดีรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม ผ่านกลไกของฝ่ายปกครอง คือ อำเภอ หรือ ตำรวจ โดยนัด 2 ฝ่ายเจรจาไกล่เกลี่ยด้วยตัวแนวทางเศรษฐศาสตร์ หากตรวจสอบพบว่าการชำระหนี้เกิดยอดเงินต้นที่ยืมจากเจ้าหน้านี้ ตามอัตราดอกเบี้ยเป็นธรรม จะเจรจาเพื่อยุติยอดหนี้ทั้งหมด อย่างละมุนละม่อม หากชำระหนี้ที่เหมาะสมแล้วต้องยอมความกันไป อย่างไรก็ดีรัฐบาลยอมรับและทราบถึงปัญหากรณีที่ประชาชนลังเลเข้าร่วมในแง่สวัสดิภาพความเป็นอยู่

สำหรับยอดหนี้มีระดับพันล้านบาทขณะนี้ ต่ำกว่าตัวเลขจริงจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ประชาชนตัดสินใจจะเข้ารับการช่วยเหลือจากศูนย์ของรัฐบาลหรือไม่ การเริ่มทำงาน 10 วัน ประชาชนต้องการได้ความชัดเจนคือการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งกระบวนการแก้ไขหนี้นอกระบบเคยทำสำเร็จ เมื่อปี 2540 สมัยนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ที่ใช้กลไกภาครัฐ ความมั่นคงร่วมกัน โดยตอนต้นมีปัญหาเช่นกัน แต่ระยะหลังประสบความสำเร็จ

นายจุลพันธ์ เชื่อมั่นว่ากลไกของรัฐจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทั้งนี้ เจ้าหนี้ที่ไม่ยอมเข้าร่วมมาตรการของรัฐ รัฐจะพิจารณาตามกฎหมาย ซึ่งต้นเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหนี้ลองของ คุกคามลูกหนี้ ซึ่งขณะนี้รัฐได้ดำเนินการตามกฎหมายเรียบร้อย ดังนั้น เชื่อว่า รัฐจะแก้ไขปัญหานี้นอกระบบได้เป็นรูปธรรม เบื้องต้นคือการหยุดการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมาย

ส่วนทางเลือกของการแก้ปัญหาโครงสร้างของหนี้นอกระบบ ผ่านกลไกของพิโกไฟแนนซ์ เป็นสถาบันให้กู้ขนาดเล็ก มีกระทรวงการคลังกำกับ ผ่านกระบวนการลงทะเบียน และมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 5 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อรายละไม่เกิน 50,000 บาท และเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย 33% ต่อปีกรณีมีหลักประกัน หากไม่มีหลักประกันจะมีอัตราดอกเบี้ย 36% ซึ่งเป็นแนวทางสร้างเครื่องมือกลไกการเงินขนาดเล็ก เพื่อรองรับการปัญหาหนี้นอกระบบ โดยเจ้าหนี้นอกระบบสามารถผันตัวเองเข้าขอใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังเพื่อทำธุรกิจที่ถูกกฎหมายและมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ และมีรายได้เพียงพอต่อเงิน ขณะเดียวกันประชาชนหรือลูกหนี้ไม่เดือดร้อนเพราะอยู่ในกำกับของรัฐ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องเดินหน้าหากลไก ลดภาระหนี้และหารายได้เพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนลดภาระค่าครองชีพและหนี้สิน ทั้งนี้การมีหนี้ไม่ผิดบาป หากประเทศไม่มีกลไก หรือเครื่องมือก่อหนี้ นำหนี้มาประกอบอาชีพ สร้างรายได้ใหม่ ไม่มีโอกาสเจริญรุดหน้า หรือ เติบโตเพียงพอต่อประชากร แต่หนี้นอกระบบต้องอยู่ในระดับที่สร้างหนี้และบริหารจัดการตนเองได้

นายจุลพันธ์ กล่าวด้วยว่ากลไกปัญหาแก้ไขหนี้สิน ทั้ง เอสเอ็มอี กว่า 6 หมื่นราย ที่ช่วงโควิดถูกปรับเป็นเอ็นพีแอล ในรหัส 21 สัปดาห์หน้า จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการดำเนินการต่อไป รวมถึงการแก้หนี้ประชาชนกว่า 1 ล้านราย ที่เกิดเอ็นพีแอลในช่วงโควิด

Related Posts

Send this to a friend