POLITICS

‘จุลพันธ์’ โวย กมธ. ผุดสูตร 500 แหกหลักการ

‘นิกร’ แจงเสียงส่วนใหญ่ไม่รับแล้ว แต่ ‘ระวี’ ชงมา กมธ. จึงให้สงวนความเห็นไว้ขึ้นอภิปราย ‘ชลน่าน’ ซัดซ้ำ รายงาน กมธ. ไม่สมบูรณ์ ขาดความเห็นเสียงส่วนใหญ่ ทั้งที่คำแปรญัตติขัด รธน.

วันนี้ (6 ก.ค. 65) ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 8 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในการประชุม มีวาระการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ตามที่กรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาเสร็จแล้ว

เวลา 18:25 น. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน ลุกขึ้นสอบถาม กมธ. ว่า หลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส. ทั้ง 4 ฉบับ ให้คำนวณคะแนนสัดส่วนบัญชีรายชื่อให้สัมพันธ์โดยตรงกับคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งรวมกันทั้งประเทศ

“โดยคำและรูปประโยคของมัน มันดิ้นหนีไม่ได้จากการคำนวณโดยบัญชีรายชื่อ เพื่อหา ส.ส. บ้ญชีรายชื่อ 100 คน แล้วหารด้วย 100 กรรมาธิการทุกคนทราบดี คำถามสำคัญคือ ท่านปล่อยให้มีกระบวนการแปรญัตติที่ขัดหลักการและเหตุผลเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎรได้อย่างไร การแปรญัตติด้วยการหาร 500 ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ซึ่งมีการแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว เราก็ทราบกันดี” นายจุลพันธ์ กล่าว

นายนิกร จำนง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะสมาชิกรัฐสภา และเลขานุการคณะ กมธ. ลุกขึ้นชี้แจงว่า ถูกต้องตามที่ท่านพูดว่าทั้ง 4 ร่างมีการคำนวณหาร 100 แต่ นพ.ระวี เสนออภิปรายเป็น 500 ซึ่งมีคนแย้งแล้วว่าขัดหลักการ เพราะรัฐสภาไม่รับหลักการ 500 มาเลย แต่สุดท้ายมีการลงคะแนนในชั้น กมธ. จนพบว่าคะแนนยืนใน 100 มีเป็นสองเท่ามากกว่า ก็ขอให้สงวนความเห็นและสงวนคำแปรญัตติไปเพื่อมาอภิปรายในสภาฯ แม้ นพ.ชลน่าน จะแย้งไปก็ตาม

“ส่วน กมธ. เสียงส่วนใหญ่ก็ยืนยันว่าเรารับเรื่อง 500 ไม่ได้ เพราะจะขัดรัฐธรรมนูญที่แก้ไขมาแล้ว และคำนวณ ส.ส. ไม่ได้จริง (Hangover) จะเกิดปัญหากับการเลือกตั้งขึ้นมาแน่นอน”

ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. จังหวัดน่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะสมาชิกรัฐสภา และ กมธ. ลุกขึ้นใช้สิทธิพาดพิง อภิปรายว่า รายงานคณะ กมธ. ฉบับนี้มีความผิดปกติอยู่ เพราะแม้ กมธ. เห็นว่าขัดกับหลักการ แต่กลับไม่มีความเห็นของ กมธ. ปรากฏอยู่ในรายงาน ซึ่งควรมีอยู่เพื่อให้รัฐสภาวินิจฉัยว่าตรงนี้สามารถสงวนความเห็นและแปรญัตติได้หรือไม่ เนื่องจากขัดรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงเห็นว่ารายงาน กมธ.

Related Posts

Send this to a friend