POLITICS

นายกฯ ยอมรับงบรายจ่ายปี 67 เพิ่มขึ้น 9.3% แต่รัฐจัดเก็บรายได้สูงขึ้น

จัดสรรงบลงทุนได้มากขึ้นถึง 4.1% พร้อมแจกแจงงบตามกรอบ 6 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ ย้ำเป้าใช้ภาษีประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างการเติบโตของประเทศในระยะสั้น-ยาว

วันนี้ (3 ม.ค. 66) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงจำแนกงบประมาณตามร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ

นายเศรษฐา แถลงถึงสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ว่า ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,480,000 ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 2,532,826.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 72.8 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 118,361.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 รายจ่ายลงทุน จำนวน 717,722.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.6 และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 118,320.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 ทั้งนี้รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 7,230.2 ล้านบาท

(1.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ

1.1 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 606,765.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.4 ของวงเงินงบประมาณ

1.2 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 1,150,144.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.0 ของวงเงินงบประมาณ

1.3 งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 214,601.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 ของวงเงินงบประมาณ จำนวน 10 เรื่อง ได้แก่

1.ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

2.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

3.ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

4.เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย

5.บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

6.ป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

7.พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์

8.พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต

9.รัฐบาลดิจิทัล

10.สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

1.4 งบประมาณรายจ่ายบุคลากร รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 785,957.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.6 ของวงเงินงบประมาณ

1.5 งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 257,790.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.4 ของวงเงินงบประมาณ

1.6 งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 346,380.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.0 ของวงเงินงบประมาณ

1.7 งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 118,361.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 ของวงเงินงบประมาณ

2.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้กำหนดไว้จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ โดยได้นำยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติมากำหนดเป็นกรอบโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รายละเอียดการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านความมั่นคง
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 390,149.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.2 ของวงเงินงบประมาณ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด งบประมาณ 4,357.4 ล้านบาท

2) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ งบประมาณ 5,668.6 ล้านบาท

3) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 6,658.4 ล้านบาท

4) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ งบประมาณ 12,695.1 ล้านบาท

5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง งบประมาณ 19,758.8 ล้านบาท

6) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ งบประมาณ 21,536.1 ล้านบาท

7) การรักษาความสงบภายในประเทศ งบประมาณ 21,615.0 ล้านบาท

8) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ งบประมาณ 57,162.1 ล้านบาท

9) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 36,625.7 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 204,072.1 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 393,517.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.3 ของวงเงินงบประมาณ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การพัฒนาความมั่นคงทางพลังงาน งบประมาณ 1,916.4 ล้านบาท

2) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล งบประมาณ 2,455.5 ล้านบาท

3) การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต งบประมาณ 3,806.6 ล้านบาท

4) การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว งบประมาณ 7,384.1 ล้านบาท

5) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก งบประมาณ 8,089.0 ล้านบาท

6) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง แข่งขันได้ งบประมาณ 8,744.8 ล้านบาท

7) การพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ งบประมาณ 9,433.8 ล้านบาท

8) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม งบประมาณ 19,270.4 ล้านบาท

9) การสนับสนุนด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณ 36,997.7 ล้านบาท

10) การเกษตรสร้างมูลค่า งบประมาณ 49,895.6 ล้านบาท

11) การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ งบประมาณ 181,529.4 ล้านบาท

12) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 21,335.6 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 42,659.0 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 561,954.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.1 ของวงเงินงบประมาณ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬา งบประมาณ 2,539.8 ล้านบาท

2) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม งบประมาณ 3,145.8 ล้านบาท

3) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ งบประมาณ 24,932.7 ล้านบาท

4) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต งบประมาณ 33,372.8 ล้านบาท

5) การเสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี งบประมาณ 64,670.1 ล้านบาท

6) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 29,109.8 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 404,183.2 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 834,240.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.0 ของวงเงินงบประมาณ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย งบประมาณ 820.1 ล้านบาท

2) การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก งบประมาณ 2,302.7 ล้านบาท

3) การสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม งบประมาณ 5,053.0 ล้านบาท

4) การเสริมสร้างพลังทางสังคม งบประมาณ 6,842.0 ล้านบาท

5) มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม งบประมาณ 22,867.0 ล้านบาท

6) การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบประมาณ 23,076.0 ล้านบาท

7) การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา งบประมาณ 85,853.3 ล้านบาท

8) การสร้างหลักประกันทางสังคม งบประมาณ 339,007.2 ล้านบาท

9) การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณ 339,124.9 ล้านบาท

10) การดำเนินภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 837.9 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 8,456.5 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 131,292.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.8 ของวงเงินงบประมาณ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล งบประมาณ 415.4 ล้านบาท

2) การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 868.0 ล้านบาท

3) การจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ งบประมาณ 1,788.2 ล้านบาท

4) การสนับสนุนด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 2,333.5 ล้านบาท

5) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ งบประมาณ 5,655.8 ล้านบาท

6) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ งบประมาณ 92,003.6 ล้านบาท

7) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 10,013.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 18,214.3 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 604,804.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.4 ของวงเงินงบประมาณ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้

1) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณ 754.0 ล้านบาท

2) รัฐบาลดิจิทัล งบประมาณ 3,029.6 ล้านบาท

3) การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม งบประมาณ 17,774.2 ล้านบาท

4) การพัฒนาบริการประชาชนและการพัฒนาประสิทธิภาพภาครัฐ งบประมาณ 28,420.2 ล้านบาท

5) การสนับสนุนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ งบประมาณ 425,212.6 ล้านบาท

6) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 21,241.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 108,372.4 ล้านบาท

นายเศรษฐา แถลงถึงรายการดำเนินการภาครัฐว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายไว้ จำนวน 564,041.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.2 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรองรับ เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ และชดใช้เงินคงคลัง ดังนี้

รายจ่ายงบกลางเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 99,300.0 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์อันมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน �ความมั่นคงของรัฐ การเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง และภารกิจที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาล รวมทั้งชดเชยค่างานก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ

การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ จำนวน 346,380.1 ล้านบาท เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 118,320 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จำนวน 228,060.1 ล้านบาท เพื่อให้การบริหารจัดการหนี้และการชำระหนี้ภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ
รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 118,361.1 ล้านบาท เพื่อเป็นรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังที่ได้ใช้จ่ายไปแล้ว ตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

นายเศรษฐา แถลงสรุปว่า งบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. 2567 นี้มีงบประมาณรายจ่าย 3,480,000 ล้านบาท โดยจะมีที่มาจากรายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ 2,787,000 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 693,000 ล้านบาท

แม้ว่างบประมาณรายจ่ายปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้นกว่าร้อยละ 11.9 ทำให้สามารถจัดสรรงบไปลงทุนได้กว่า 717,722.2 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4.1 และสามารถชดใช้เงินคงคลังและชำระคืนต้นเงินกู้ได้กว่า 118,361.1 ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งจะทำเป็นการเตรียมพร้อมทำให้รัฐบาลมีกรอบในการลงทุนในระยะกลางและยาวมากขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อีกด้วย

การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินนโยบายทั้งในระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ลงทุน เพื่อสร้างการเจริญเติบโตของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นไปตามกฎหมาย

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat