“ธัญ” ร่วมกับนักกายภาพบำบัด แนะเทคนิคนวดเพื่อ ขจัดความเหนื่อยล้า ป้องกันออฟฟิศซินโดรม
“ธัญ” (THANN) แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพผิว และเส้นผมจากสารสกัดธรรมชาติ ร่วมกับ “กรณิภา สุริยเลิศ” นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและกายภาพบำบัด มาแนะนำ “เทคนิคบริหารจัดการความเหนื่อยล้า สำหรับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ” ในโอกาสเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ‘บาธ แอนด์ มาสสาจ ออยล์” (Bath & Massage Oil) โดยเฉพาะการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) เป็นอวัยวะที่หนักถึง 40% ของน้ำหนักตัว โดยมีจำนวนมากถึง 696 มัด มีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย การหายใจ และการทรงตัว ซึ่งการทำงานหรือทำกิจกรรมอย่างหนัก ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ง่ายต่อการเกิดความอ่อนล้าและปวดเมื่อยได้ เราจึงควรหาเวลาและวิธีนวดผ่อนคลายอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดความเมื่อยล้าจนเกินไป
กรณิภา กล่าวว่า “ อาการปวดเมื่อยร่างกายของแต่ละคนนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่หลายปัจจัย เช่น ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต กิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน รวมถึงช่วงอายุของแต่ละบุคคล ซึ่งมักส่งผลต่ออาการปวดเมื่อยตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่มักพบได้บ่อย คือ คอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง หรือที่รู้จักกันว่าออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โดยอาการออฟฟิศซินโดรมนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การนั่งทำงานในท่านั่งที่ไม่เหมาะสม, ลักษณะการทำกิจกรรมที่ไม่ถูกต้อง อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ความเครียดจากการทำงาน และการพักผ่อนไม่เพียงพอ
“ดังนั้นอาการปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain) คือ ภาวะตึง ปวดหรือการอักเสบเรื้อรัง ของกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งตามกล้ามเนื้อมัดเดียวหรือหลายมัด มักมีสาเหตุจากการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำๆหรือมากเกินไป จากการทำกิจกรรมประจำวัน หรือการเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำๆ จนทำให้เกิดความตึงเครียดสะสมที่กล้ามเนื้อ เช่น การสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ, การใส่รองเท้าส้นสูง, การพิมพ์งานหน้าจอคอมพิวเตอร์,การใช้มือถือ รวมไปถึงการออกกำลังกาย เนื่องจากเวลาเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดกระบวนการต่างๆ ในการดึงพลังงานของกล้ามเนื้อออกมาใช้ และเกิดกรดแลคติคไปสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการกล้ามเนื้อล้า (Muscle Fatigue) ตามมา โดยอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย”
“การนวด (Massage) เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางกายภาพบำบัดใช้ ในการบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรงมากนัก มีหลายเทคนิค เช่น ลูบตามผิวหนัง บีบ คลึง กดจุด เคาะ ทุบ หรือดึง การนวดนอกจากจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดความตึงเครียดแล้ว ยังเป็นการรักษาทางเลือกที่อาจช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้ อาทิ 1.ลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ให้ความตึงลดลง 2.ลดการยึดติดของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและแผลเป็น 3.เพิ่มการไหลเวียนกลับของเลือดและน้ำเหลือง 4.เพิ่มการเคลื่อนไหวข้อต้อ ข้อยึดติดที่ไม่รุนแรง 5.ลดอาการปวดจากการกระตุ้น การหลั่งสารบรรเทาความเจ็บปวด (Endogenous endorphins) 6.เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลและความตึงเครียดของจิตใจ
สำหรับท่านวดคล้ายความเมื่อยล้า step ที่ 1.วางนิวหัวแม่มือทั้งสองข้างบนฐานกะโหลก ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกดที่ขมับพร้อมกับนวดตามเป็นวงกลมประมาณ 1 นาที step ที่ 2.วางนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างบนฐานกะโหลก และนวดตามเป็นวงกลมเบาๆ จากซ้ายไปขวาทำ 3 รอบ step ที่ 3.นั่งหันหลังตรงประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันที่ด้านหลังคอ ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างค่อยๆ นวดบริเวณคอ โดยไล่จากด้านบนลงด้านล่าง step ที่ 4.นั่งหลังตรง วางมือซ้ายบนไหล่ขวา ใช้นิ้วค่อยๆกดลงบนไหล่ขวา โดยไล่จากด้านในออกไปด้านนอก ทำซ้ำประมาณ 2-3 นาที สลับข้างและทำเหมือนเดิม
ส่วนหลักการเลือกใช้น้ำมันนวด (Bath & Massage oil) ควรพิจารณาจากเบสน้ำมันนวดตัว หรือน้ำมันนำพา (Carrier oil) ที่มาจากน้ำมันสกัดธรรมชาติที่มีคุณสมบัติ ในการบำรุงผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื้น อาทิ น้ำมันรำข้าว (Rice Bran Oil), น้ำมันอะโวคาโด (Avocado Oil), น้ำมันถั่วอินคา (Inca Inchi Oil), น้ำมันมะกอก (Olive Oil) เป็นต้น ควบคู่กับการใช้ศาสตร์แห่งกลิ่นหอมบำบัด (Aromatherapy) เพื่อสร้างความผ่อนคลายได้ และสามารถผสมน้ำมันนวด (Bath & Massage Oil) ลงในน้ำอุ่นสำหรับแช่ตัว นอกจากจะช่วยคลายกล้ามเนื้อและความเครียดแล้ว ยังสามารถบำรุงผิวให้เนียนุ่มชุ่มชื้นไปพร้อมกันได้”