เปิดใจ ลม้าย มานะการ คณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณี อับดุลเลาะ อีซอมูซอ
“แพทย์ท่านหนึ่งบอกว่า ยังมีข้อสงสัยว่าในช่วงเวลา 19.30 – 03.00 ที่อับดุลเลาะ อยู่ในศูนย์ซักถาม เกิดอะไรขึ้น เพราะจากพยาธิวิทยา ผมแปลกใจว่า อะไรทำให้คนที่มีร่างกายแข็งแรงทุกประการ เป็นไปได้เยี่ยงนี้ ทำไมเจ็บป่วยขนาดไม่หายใจ จนสมองขาดออกซิเจนและสมองตาย”
น.ส.ลม้าย มานะการ คณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยกับ The Reporters กรณีมีการตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่ของคณะกรรมการฯที่ตรวจสอบกรณีการเสียชีวิต ของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า สาเหตุการตายเกิดจากอะไร และมีเสียงวิจารณืการทำหน้าที่ของคณะกรรมการไม่เป็นกลาง จนถึงขั้นเรียกร้องให้ลาออก
น.ส.ลม้าย ยอมรับว่า การทำหน้าที่ครั้งนี้ยาก และมีข้อจำกัดมากจริงๆ
“พี่ทำหน้าที่ได้เต็มที่แล้ว กับความรู้ที่มีอยู่ แต่ความรู้เรามีไม่มากพอ สำหรับการทำงานที่สลับซับซ้อนแบบนี้ โดยเฉพาะ กรณี อับดุลเลาะ เกิดเหตุในพื้นที่ของกองทัพ ที่เราเข้าไปตรวจสอบยากมาก ถ้าจะจัดฉาก หรือไม่ ก็ทำได้ หรือทำไม่ได้ เราไม่รู้ได้เลย”
น.ส.ลม้าย ยอมรับว่า คณะกรรการชุดนี้เกิดขึ้นจากโครงการพูดคุยร่วมกันของคณะกรรมการประสานงานของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขที่มี พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ เป็นหัวหน้า เห็นด้วยให้มีคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแบบถาวร ลักษณะองค์กรอิสระ ที่จะทำงานในพื้นที่ เนื่องจากมีปัญหาการซ้อมทรมานที่มีข้อเรียกร้องมากอยู่ด้วย ซึ่งแม่ทัพภาคที่ 4 เห็นว่าสำคัญ เลยแต่งตั้ง คณะกรรมการชุดรแรก ประมาณ 20 คน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เริ่มตรวจสอบกรณีถูกซ้อมทรมานที่ค่ายวังพญากรณีแรก แต่ไม่ทันได้ข้อสรุปก็มีกรณีของ นายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ หมดสติในค่ายอิงคยุทธบริหาร เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ทำให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าไปแต่งตั้งมาเพิ่มอีก 20 คน ซึ่งพบว่ามีนักกิจกรรมผู้หญิง ผู้อาวุโสในวงการมุสลิม ศอ.บต.ทหารและตำรวจ เพิ่มขึ้น
ซึ่งกรณีนี้ส่วนตัวไม่เห็นด้วย กับการที่ กอ.รมน.แต่งตั้งโดยไม่มีการหารือกับกรรมการชุดแรก แต่เมื่อเกิดเหตุ จึงต้องทำหน้าที่เต็มที่ โดยมีการแบ่งอนุกรรมการเป็น 2 ชุด
ชุดแรกตรวจสอบข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่รัฐ 12 คน ที่ทำงานศูนย์ซักถาม ช่วงดูแลนายอับดุลเลาะ มีทั้งหมด 4 ผลัด ทั้ง 12 คน สลับเวลาการทำงานกัน ซึ่งคณะกรรมการ ไปพูดคุยมาหมดแล้ว และนำมาพูดคุยในวงใหญ่ ไม่พบข้อพิรุธที่เป็นประจักษ์สำคัญว่าถูกทำให้ไม่หายใจ ไม่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่เห็นหลักฐาน จะหกล้มก็ยาก เพราะไม่มีข้อฟกช้ำดำเขียว ในห้องก็เรียบร้อยมาก รวมถึงการใช้ถุงคลุมหัว ก็เป็นไปได้ที่จะเป็นกรณีนี้ แต่ไม่เจอประจักษ์พยาน มีข้อสังเกตนอนหงาย ถ้าล้มต้องมีรอยเขียวฟกช้ำ เราไม่สามารถมีพยานตัวอื่นเลย เพราะ กล้องวงจรปิด ไม่ได้ใช้งาน
ส่วนอีกชุดทำหน้าที่ตรวจสอบทางการแพทย์ ซึ่ง น.ส.ลม้าย ทำหน้าที่ใส่วนนี้ยอมรับว่า
“ยากมาก ที่อนุกรรมการชุดนี้จะบอกว่าเกิดจากอะไร แพทย์ที่บ่อทอง ยังมีข้อสงสัยว่าช่วงเวลา 19.30 – 03.00 เกิดอะไร จากพยาธิวิทยา”
ผมแปลกใจว่าทำไม คนที่มีร่างกายแข็งแรงทุกประการ เป็นไปได้เยี่ยงนี้ เกิดอะไรขึ้น
เมื่อไปคุยกับหมอที่ปัตตานี ก็ไม่ประจักษ์ชัดว่าเหตุมาจากอะไร อย่างเช่น การไม่หายใจแค่ 4 นาที ทำให้สมองตาย แกนสมองตาย ไม่ทำงาน
แต่ขณะนั้นญาติมีความหวังว่าจะรอดชีวิต แทพย์จึงส่ง รพ.มอ.หาดใหญ่ ในวันที่ 23 ก.ค. ที่ รพ.ม.อ. หลังผ่านไป สองวัน กับเมื่อวานนี้ตอนเช้า หมอให้การที่ตรงกัน หมอขอให้อาการที่พบระหว่างที่พบ ใน รพ.ม.อ.เท่านั้น ซึ่งการวินิจฉัย อาการของโรคนี้เป็นไปได้ 3 กรณี
“กรณีนี้ขาดอากาศหายใจแน่นอน จะมาจาก การกลั้นหายใจ มีคนทำให้ไม่ให้หายใจ หรือโรคที่ไม่เคยมีประวัติการรักษา ซึ่งอับดุลเลาะ ไม่เคยรักษาใน โรงพยาบาล หมอบอก 3 ข้อที่อาจจะเป็นสาเหตุได้ แต่บอกไม่ได้”
รวมทั้งสาเหตุนำของการไม่หายใจ มาจากอะไร มีคนทำให้ไม่ให้หายใจ หมอไม่ยืนยัน การไม่หายใจของคนไข้ ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน อาจมาจากมีคนทำให้ไม่หายใจก็ได้ มาจากพยาธิของคนไข้ แต่การที่คนเราจะกลั้นใจตายเองนั้นทำยากมาก และไม่น่าจะทำ
มีอาการที่หมอไปเจอในร่างกายว่ามีเลือดคั่งในสมอง มีเลือดซึม มีเลือดออก หมอพยายามฉีดแสงแต่รักษามานานเกินไป ฉีดแสงขึ้นไปก็บอกไม่ได้ เป็นเพราะอะไรที่มีเลือดตรงนี้ มี 2-3 กรณี ผ่านกระบวนการพยาธิ และกระบวนการรักษา ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัว หมอเครียดมาก หมอบอกว่า ที่โรงพยาบาลม.อ.คนมาเยี่ยมคนไข้เยอะมาก แล้วไปสื่อสารในทางที่ทำให้หมอเสียหาย ว่าทำไมไม่พบร่องรอย เพราะไม่พบจริงๆ หมอขอให้ระมัดระวัง ที่จะบอกว่ามีคนทำ หรือไม่ทำ เหตุการณ์ไม่มีเลือดมีอะไรกันแน่ อาจจะไม่เกิดในรายนี้ก็ได้ เพราะผู้ป่วยถึงมือหมอเกินเวลา ในเวลาที่เชคได้แล้ว
น.ส.ลม้าย กล่าวว่า ไม่ว่ากรรมการที่เป็นทหาร ภาคประชาสังคม นักวิชาการ มีข้อสงสัย มีคนรู้สึกว่า คนนี้ไม่เป็นกลาง คนนี้ถือทางผู้ป่วย คนนี้ถือทางกองทัพ เราไม่สามารถสรุปว่าใครถูกผิด กรรมการแจ้งให้สังคมรู้ สังคมจะเข้าใจหรือไม่ จึงมีทั้งคนเห็นด้วยไม่เห็นด้วย แต่มีสิ่งหนึ่งที่กรรมการเห็นชัดตรงกันว่า
“เขามาเจ็บป่วยจนเสียชีวิต ในขณะการดูแลของทหารชุดนี้ กองทัพต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นกับอับดุลเลาะ และครอบครัว”
แต่ถ้ารับผิดชอบด้วยการเยียวยา แล้วญาติไม่เอาจะทำไง กรรมการก็ไปคุย และผลักดันให้กองทัพ เจ้าของบุคลากร รับผิดชอบตามความเหมาะสม ไม่ใช่กองทัพไปคุย ส่วนกระบวนการยุติธรรมต่อไป จะต้องตั้งสอบสวนการตาย และญาติสามารถไปแจ้งความดำเนินคดีได้