HEALTH

เตือน โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน พบได้ในคนอายุน้อย แนะเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง

นพ.เมธี ภัคเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เตือน โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ และในกลุ่มคนอายุน้อย ทั้งนี้หากรักษาเร็วและถูกวิธี ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด โดยผู้ป่วยกลุ่มคนอายุน้อย ซึ่งบางครั้งจะพบว่าเกิดจากพฤติกรรม เช่น ก้มหรือแอ่นหลังบ่อยๆ ซ้ำไปมา ทำให้กระดูกขาด และเคลื่อนออกจากแนวกระดูกสันหลัง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังอยู่ตลอดเวลา

ทั้งนี้วิธีการรักษาคือการปรับพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงการก้ม-แอ่นตัว ยกของหนัก หรือ ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพื่อให้กล้ามเนื้อเป็นตัวช่วย ในการพยุงกระดูกสันหลัง หากยังมีอาการปวดหลังแบบเป็นๆ หายๆ แพทย์จะทำการรักษา ด้วยวิธีการฉีดยาระงับอาการปวด ก่อนในเบื้องต้น เนื่องจากการผ่าตัดแบบยึดนอต ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มคนอายุน้อย ที่มีภาวะของกระดูกสันหลังเคลื่อน อาจมีผลเสียในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ ยังต้องใช้งานหลังอีกมาก หากรักษาด้วยวิธีการยึดนอตไม่ดี อาจจะทำให้นอตหัก หรือเหล็กงอได้

นพ.เมธี กล่าวว่า “โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน” เป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ และในกลุ่มคนอายุน้อย โดยมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่อายุน้อย มักมีสาเหตุมาจากการแตกหักของชิ้นส่วนกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจากความไม่สมบูรณ์ ของชิ้นกระดูกสันหลังตั้งแต่ในวัยเด็ก หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ มักพบภาวะของกระดูกสันหลังเคลื่อน ที่เกิดจากความเสื่อม ของแนวกระดูกสันหลัง ทั้งในบริเวณหมอนรองกระดูก และข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังเกิดความไม่มั่นคง และส่งผลให้เกิดการเคลื่อน ของชิ้นกระดูกสันหลังตามมาในที่สุด

สำหรับ “โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท” (Spondylolisthesis) หรือใครหลายคนมักเรียกว่า “กระดูกทับเส้น” เกิดจากข้อกระดูกสันหลังข้อใดข้อหนึ่ง เคลื่อนออกจากแนวกระดูกสันหลังไปทางด้านหน้า เมื่ออายุเพิ่มขึ้นความยืดหยุ่น ของหมอนรองกระดูกเริ่มลดน้อยลง ส่งผลให้เสี่ยงต่อการฉีกขาด และเคลื่อนออกมาทับเส้นประสาทได้ง่ายขึ้น และมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณหลังส่วนล่างระดับ L4-L5 มากที่สุด และส่วนใหญ่จะพบ ในผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ในขณะที่ผู้ป่วยอายุน้อยบางครั้งจะพบว่า เกิดจากพฤติกรรม เช่น ก้มหรือแอ่นหลังบ่อยๆ ซ้ำไปมา ทำให้กระดูกขาด และเคลื่อนออกจากแนวกระดูกสันหลัง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดหลังอยู่ตลอดเวลา

ขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มคนอายุน้อย ที่มีภาวะของกระดูกสันหลังเคลื่อน ยังไม่มีความจำเป็น ต้องรับการผ่าตัดแบบยึดนอต เพราะอาจมีผลเสียในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยที่อายุน้อย ยังต้องใช้งานหลังอีกมาก หากรักษาด้วยวิธีการยึดนอตไม่ดี ก็อาจจะทำให้นอตหัก หรือเหล็กงอได้ สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มนี้ที่มีภาวะของกระดูกสันหลังเคลื่อนร่วมด้วย วิธีการรักษาคือการปรับพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงการก้ม-แอ่นตัว ยกของหนัก หรือ ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพื่อให้กล้ามเนื้อเป็นตัวช่วย ในการพยุงกระดูกสันหลัง หากยังมีอาการปวดหลังแบบเป็นๆ หายๆ

แพทย์จะทำการรักษา ด้วยวิธีการฉีดยาระงับอาการปวดก่อนในเบื้องต้น แต่ในที่สุดเมื่อผู้ป่วยกลุ่มนี้ ยังมีอาการปวดอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับผลตรวจ X-RAY และ MRI พบว่ากระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท มากกว่า 25% ขึ้นไป ก็ควรได้รับการรักษา ด้วยวิธีการส่องกล้อง เปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม หรือ Full Endo TLIF ซึ่งจะได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีต่อตัวผู้ป่วย

นพ.เมธี เผยอีกว่า ผู้ป่วยที่อายุน้อยบางราย ที่คิดจะรักษาแบบผ่าตัดไปเลย เพราะกลัวทำตอนอายุมากแล้วจะไม่ไหว แต่ความกังวลใจเหล่านี้จะหมดไป เมื่อการรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน ด้วยเทคนิคใหม่แบบ Full Endo TLIF ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ได้นำมาใช้รักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี เสียเลือดน้อยมาก ข้อแทรกซ้อนต่ำเมื่อเทียบกับ การผ่าตัดแบบเดิม และเทคนิคนี้ผู้สูงอายุก็สามารถรักษาได้

“หากใครที่มีอาการปวดไม่มาก หรือกระดูกสันหลังไม่ได้เคลื่อน กดทับเส้นประสาท ก็สามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อแกนกลาง โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายเฉพาะทาง คอยดูแลแนะนำอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยให้กระดูกสันหลัง ไม่เคลื่อนไปทับเส้นประสาทเพิ่มขึ้นได้” นพ.เมธี กล่าว

Related Posts

Send this to a friend