HEALTH

เปิดตัว เอกสาร “สาระความรู้เพื่อคนไทยปลอดจากภัยจักรยานยนต์” มุ่งให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง จากการขับขี่และซ้อนท้าย

พญ.ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์ อดีตที่ปรึกษาประจำองค์การอนามัยโลก ภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการ และหัวหน้าโครงการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่ผู้ใช้จักรยานยนต์ปลอดภัย เปิดตัวเอกสาร “สาระความรู้เพื่อคนไทยปลอดจากภัยจักรยานยนต์” ซึ่งเป็นการรวบรวมความรู้ ที่เข้าถึงง่าย อ่านเข้าใจง่าย สำหรับคนไทยที่ใช้รถจักรยานยนต์ และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ คนซ้อนท้าย คนซื้อรถจักรยานยนต์ คนเดินเท้าและผู้ขับขี่ยานพาหนะอื่น

โดยมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆเป็นผู้เขียน และรวบรวมสาระความรู้ดังกล่าว อาทิ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม,ดร.อนุชิต กลับประสิทธิ์ ,อาจารย์ชฎาพร สุขสิริวรรณ ,คุณพิกุลทอง วงศ์อ้าย ,คุณพรเทพ ขวัญใจ ฯลฯ เนื่องจากพบว่าปัจจุบัน ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ไทย (รวมขับขี่และโดยสาร) เสียชีวิต 1 คน ในทุก 37 นาที ซึ่งคิดเป็นอันดับที่หนึ่งของโลก

พญ.ชไมพันธุ์ เปิดเผยว่า “การจัดทำเอกสารชุดนี้ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล สำหรับคนไทยปลอดจากภัยรถจักรยานยนต์ มุ่งเน้นที่กลุ่มอายุ ตั้งแต่อายุ 6-7 ปี ไปจนเกิน 60 ปี เนื่องด้วยความเสี่ยงที่จะตายของผู้ขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะสูงกว่ายานพาหนะอื่น 24-37 เท่า ปัจจุบันผู้ใช้รถจักรยานยนต์ไทย (รวมขับขี่และโดยสาร) ตาย 1 คน ทุก 37 นาที เป็นที่หนึ่งของโลกอีกทั้งมีรายงานเกี่ยวข้องกับ การบาดเจ็บรุนแรงพิการหรือตายจาก อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ในสถานการณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องหลายส่วน คือ”

1.คนขับขี่รถจักรยานยนต์ไทย แตกต่างจากประเทศอื่นอย่างชัดเจน ในเรื่องอายุที่น้อยมาก แต่เริ่มขับขี่ยานพาหนะที่มีขนาดเครื่องยนต์ และความเร็วที่สูงกว่าประเทศอื่น

2.คนซ้อนรถจักรยานยนต์ มีตั้งแต่ 1 คนไปจนถึง ที่บางครั้งมากถึง 3-4 คน การซ้อนอย่างอันตรายผิด กฎหมาย มักเกิดเหตุรุนแรงจนพิการหรือตายเป็นกลุ่ม ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น

3.คนซื้อรถจักรยานยนต์ เพื่อให้ลูกหลานใช้ไปเรียนหนังสือ หรือ ให้ภรรยาทำธุระโดยอาจไม่ทราบว่า ความเสี่ยงของการใช้รถจักรยานยนต์ แม้จะเป็นรถจักรยานยนต์รุ่นครอบครัว ที่มีซีซีต่ำสุดที่มีขาย (110-115 ซีซี) แต่ทำความเร็วได้สูงกว่าศักยภาพ ในการควบคุมของผู้เริ่มขับขี่ ซึ่งมักมีการบาดเจ็บ ในขณะเกิดเหตุ

4.คนเดินเท้าในไทยถูกชน โดยรถจักรยานยนต์ถึงแก่ชีวิต มากกว่าจากยานพาหนะอื่น การเสียชีวิต ดังกล่าวเป็นลำดับสูงสุดของประเทศไทย

5.คนขับขี่รถอื่นและใช้ถนน ร่วมกับรถจักรยานยนต์ พบว่าในอุบัติเหตุที่ชนกับรถจักรยานยนต์ มีประมาณครึ่งหนึ่ง ที่รถจักรยานยนต์เป็นฝ่ายผิด อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ขับขี่รถอื่นซึ่งเป็นฝ่ายผิด และมักให้ข้อมูลว่าไม่ เห็นรถจักรยานยนต์ หรือถูกรถจักรยานยนต์ตัดหน้า สาระความรู้นี้จะตั้งอยู่บนฐานข้อมูลทางวิชาการ ประกอบกับประสบการณ์จริง ของทีมช่างเชี่ยวรถจักรยานยนต์ และเครือข่ายผู้รับผลกระทบ จากรถจักรยานยนต์ ในบริบทของชีวิตบนถนนไทย

“สถานการณ์ด้านรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย มีความซับซ้อนมาก ตั้งแต่คนขับขี่ คนซ้อน คนซื้อ คนที่ใช้ถนน ไปจนถึงคนเดินเท้า มีข้อมูลว่าคนเดินเท้าในไทย ถูกชนโดยรถจักรยานยนต์จนถึงแก่ชีวิต มากกว่าจากยานพาหนะอื่น การเสียชีวิตดังกล่าว เป็นลำดับสูงสุดของประเทศไทย เช่นเดียวกับ คนขับขี่รถอื่นและใช้ถนน ร่วมกับรถจักรยานยนต์ พบว่าในอุบัติเหตุที่ชนกับรถจักรยานยนต์มีประมาณครึ่งหนึ่ง ที่รถจักรยานยนต์เป็นฝ่ายผิด ซึ่งส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าไม่เห็นรถจักรยานยนต์ หรือถูกรถจักรยานยนต์ตัดหน้า นี่คือบริบทที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ของอุบัติเหตุจักรยานยนต์ในประเทศไทย”

“ในสาระความรู้ชุดนี้ ยังได้ให้ข้อมูลในเรื่องของ การบาดเจ็บที่ศรีษะ ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ที่พบว่ามากกว่า 50% ของผู้เสียชีวิต จากรถจักรยานยนต์ ที่มีการศึกษาทบทวนข้อมูลอุบัติเหตุในอดีต เกิดบาดเจ็บที่ศีรษะ อีกทั้งการใช้ความเร็วของรถ ที่มากกว่าขนาดซีซีของรถ รวมถึงการชนท้ายรถที่จอดข้างทางอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะการขับขี่ จักรยานยนต์ในช่วงกลางคืน”

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat