HEALTH

ปวดคอเรื้อรัง ของคนติดมือถือ รับมือได้ด้วยการปรับพฤติกรรมใช้สมาร์ทโฟน

นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยข้อมูลเกี่ยวกับโรค Text Neck Syndrome หรืออาการปวดคอเรื้อรังของคนติดมือถือ ชี้หากเป็นแล้วอันตราย ถึงโรคกระดูกคอเสื่อมได้ ทั้งนี้อาการของโรค Text Neck Syndrome มีหลายระดับ ตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อย มีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า สะบัก และหัวไหล่ ไปจนถึงอาการที่สามารถสร้างปัญหารุนแรง เช่น อาการชา หรืออ่อนแรงของแขนและมือ ที่อาจเกิดจากความเสื่อมของแนวกระดูก หรือหมอนรองกระดูกส่วนคอ ซึ่งก่อให้เกิดการกดทับของไขสันหลัง หรือรากประสาทบริเวณคอ เพื่อเป็นการป้องกันโรค Text Neck Syndrome มีคำแนะนำในการรับมือกับโรคดังกล่าว ที่ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง เพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอ

นพ.ธนวัฒน์ กล่าวว่า “เรามักจะพบว่าผู้คนแทบจะทุกเพศทุกวัย ใช้เวลาในการก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆเป็นเวลานาน และนั่นจึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรค Text Neck Syndrome โดยพฤติกรรมการก้มหน้าลง จะทำให้คอ และบ่า ต้องแบกรับน้ำหนัก เพราะน้ำหนักที่เกิดขึ้นจากการกดทับนี้เอง ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังส่วนคอ ทำให้มีการปูด นูน แตก และเคลื่อนของหมอนรองกระดูกจนไปกดทับเส้นประสาทส่วนคอ ยิ่งเราก้มมากเท่าไหร่ คอและบ่าก็ยิ่งต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้อาการของโรค Text Neck Syndrome มีหลายระดับ ตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อย มีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า สะบัก และหัวไหล่ ไปจนถึงอาการที่สามารถสร้างปัญหารุนแรง เช่น อาการชา หรืออ่อนแรงของแขนและมือ ที่อาจเกิดจากความเสื่อมของแนวกระดูก หรือหมอนรองกระดูกส่วนคอ ซึ่งก่อให้เกิดการกดทับของไขสันหลัง หรือรากประสาทบริเวณคอ”

ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ข้อมูลของ นายสินิตย์ เลิศไกร รมช. พาณิชย์ เปิดเผยว่าจากสถิติ การใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือของผู้ใช้งาน ในช่วงอายุระหว่าง 16 -64 ปี ในประเทศไทยพบว่า มีการใช้งานเฉลี่ย 5.07 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก และหากนับรวมการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งระบบ คนไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง หรือคิดเป็น 41% ของการใช้เวลา ภายใน 1 วัน ซึ่งพฤติกรรมและตัวเลขดังกล่าว ยังไม่มีท่าทีลดลงในปัจจุบัน

“มีข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ พบว่าในทุกๆ 10 องศาที่เราก้มลง จะเพิ่มแรงกดลงที่บริเวณกระดูกสันหลังค่อนข้างเยอะ เช่นการก้มที่ระดับ 30 องศา จะเพิ่มแรงดันเข้าไปเป็น 3 เท่า อย่างไรก็ตามไม่ใช่แค่การนั่งเล่นมือถือเท่านั้น แต่การนอนหรือยืนเล่นโทรศัพท์มือถือ ก็เสี่ยงที่จะเป็นโรค Text Neck Syndrome ได้เช่นกัน ขณะที่วิธีการป้องกัน Text Neck Syndrome ทุกคนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้งานมือถือ โดยปรับองศาของคอ ให้อยู่ในแนวตรงมากที่สุด จำกัดและลดระยะเวลาในการใช้งานมือถืออย่างเหมาะสม ไม่ควรเกินครั้งละ 20 นาที และควรให้มือถืออยู่ในแนวตรงระดับสายตา ไม่ก้มหลัง หรือห่อไหล่ขณะใช้งาน หมั่นยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ”

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้ม ป่วยเป็นโรคกระดูกคอเสื่อมมากขึ้น จากสถิติของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ พบว่า ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษามากขึ้นถึง 4 เท่า โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน สาเหตุจากการทำงานนาน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ รวมไปถึงการก้มเล่นโทรศัพท์มือถือ ของคนในยุคสังคมก้มหน้า และอีกสาเหตุหนึ่งคือ อายุที่มากขึ้น ข้อต่อต่างๆ ระหว่างกระดูกคอหากรับแรงกระแทก หรือมีการเคลื่อนไหวที่มากและนาน อาจมีการสึกหรอได้

“ส่วนการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมมีหลายรูปแบบ แต่เทคนิคที่โรงพยาบาลนำมาใช้ และถือว่าเป็นรายแรก คือ การรักษาด้วยเทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) โดยเป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง เพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยแพทย์จะนำกล้องเอ็นโดสโคป ที่มีความละเอียดสูงเข้าไปในช่องว่าง ภายในกระดูกคอ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาท สำหรับทางเลือกการรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก เพียง 0.5-1 เซนติเมตร สูญเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืน ก็สามารถกลับบ้านได้”

Related Posts

Send this to a friend