HEALTH

WHO คัดเลือกสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ของไทย ใช้ผลิตวัคซีน ประจำปี 67

วันนี้ (7 พ.ย. 66) นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ผลวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ในซีกโลกใต้ระบาดมากในฤดูฝน พบไข้หวัดใหญ่ A(H3N2), A(H1N1) และ B เป็นสาเหตุของการระบาด ของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สำหรับประเทศไทยการระบาด ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A(H3N2) มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 66.42% รองลงมาคือสายพันธุ์ B 19.32%

พร้อมกันนี้ผู้เชี่ยวชาญ จากองค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาชิกห้องปฏิบัติการ เครือข่ายทั่วโลก รวมถึงบริษัทผู้ผลิตวัคซีน ได้ประชุมคัดเลือกสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ เพื่อนำไปใช้ผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 สำหรับประเทศทางซีกโลกใต้ ระหว่างวันที่ 25-28 กันยายน 2566 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยได้คัดเลือกสายพันธุ์เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ โดย 1 ใน 3 สายพันธุ์ เป็นเชื้อที่แยกได้จากระบบเฝ้าระวัง เฉพาะพื้นที่ของประเทศไทย จากความร่วมมือของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค โรงพยาบาลเครือข่ายและศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือ และบทบาทที่เข้มแข็งของ กระทรวงสาธารณสุขไทย ที่มีต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชากรโลก

นายแพทย์ยงยศ กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก มักพบการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่ในเขตซีกโลกเหนือ ระบาดมากในช่วงฤดูหนาว ส่วนซีกโลกใต้ระบาดมากในฤดูฝน พบไข้หวัดใหญ่ A(H3N2), A(H1N1) และ B เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จากผลการวิเคราะห์ลำดับพันธุกรรม ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึงปัจจุบัน พบ A(H1N1) มีสัดส่วน 56.94% A(H3N2) 95.08% และ B 100%

สำหรับประเทศไทยการระบาด ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A(H3N2) มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 66.42% รองลงมาคือสายพันธุ์ B 19.32% ในขณะที่สายพันธุ์ A/H1N1 มีสัดส่วน 14.26% สำหรับสายพันธุ์ B ที่พบในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ Victoria ทั้งหมด เช่นเดียวกับที่พบทั่วโลกขณะนี้

ทั้งนี้จากข้อมูลการวิเคราะห์สายพันธุ์ ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ของศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิค Whole genome sequencing (WGS) วิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมทั้งจีโนม และประเมินความสอดคล้องกับสายพันธุ์วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ที่กระทรวงสาธารณสุขฉีดให้กับประชาชน พบว่าสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่ตรวจพบในประเทศไทย มีความสอดคล้องกับสายพันธุ์วัคซีนที่ฉีด และสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้

จากการประชุมคัดเลือกสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ เพื่อนำไปใช้ผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 สำหรับประเทศทางซีกโลกใต้ ระหว่างวันที่ 25-28 กันยายน 2566 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สมาชิกห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั่วโลก และบริษัทผู้ผลิตวัคซีนได้คัดเลือก สายพันธุ์เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ โดย 1 ใน 3 สายพันธุ์ เป็นเชื้อที่แยกได้จากระบบเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ ของประเทศไทย จากความร่วมมือของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค โรงพยาบาลเครือข่ายและศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินการเฝ้าระวังสายพันธุ์ การกลายพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่ต่างไปจากเดิม การดื้อยาของเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก มาอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการเฝ้าระวังทุกสัปดาห์ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ WHO ในฐานะสมาชิกเครือข่าย เพื่อวางมาตรการการควบคุม และป้องกันโรคได้ทันสถานการณ์

“จากการที่สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ ที่ตรวจพบในประเทศไทย ได้รับคัดเลือกให้เป็นองค์ประกอบ ในวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือ และบทบาทที่เข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่มีต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชากรโลก ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของระบบสาธารณสุข ที่ต้องการให้การควบคุม และป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมการแพร่ระบาดและลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตของประชากรไทยและประชากรโลก” นายแพทย์ยงยศ กล่าว

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat