HEALTH

‘อนุทิน’ มั่นใจฝีมือเกษตรกรไทย ปั้นกัญชา เป็นพืชเศรษฐกิจป้อนตลาดโลก

‘อนุทิน’ เปิดงานกัญชาจันทบุรีมั่นใจฝีมือเกษตรกรไทย ปั้นกัญชา เป็นพืชเศรษฐกิจ ป้อนตลาดโลก

วันนี้ (6 พ.ค. 65) ที่ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคาร 36) ม.ราชภัฏ รำไพพรรณี อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมงานประชุมวิชาการกัญชาทางการแพทย์เขตสุขภาพที่ 6 จัดขึ้น ระหว่าง วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2565 มีผู้บริหารกระทรวงฯ บุคลากรสาธารณสุข ตัวแทนภาครัฐ และภาคเอกชน ไปจนถึงประชาชน เข้าร่วมงานจำนวนมาก

นายอนุทิน กล่าวระหว่างเปิดงาน ว่า นโยบายกัญชาทางการแพทย์ เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อสร้างรายได้ ให้ประชาชน และประเทศ กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สําคัญของไทย เพราะเป็นหนึ่ง ในพืชไม่กี่ชนิดที่ใช้ประโยชน์นํามาเป็นยาและอาหารได้ทุกส่วน ทั้ง ราก ต้น ใบ และดอก ที่คนไทย ใช้กันมานาน

การดําเนินงานกัญชาทางการแพทย์ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า กัญชา จะเป็นพืชเศรษฐกิจ และจะสามารถพลิกโฉมให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ในภาพรวมของประเทศ เห็นได้จากผลงานในปี 2564 แม้ว่าจะมีสถานการณ์โควิด ผลิตภัณฑ์กัญชา กัญชง เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ อย่างมาก

พบว่า ผลิตภัณฑ์ จากกัญชา กัญชง สร้างรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเป็นมูลค่าสูงกว่า 7 พันล้านบาท นายยืนยง โอภากุล (แอ็ด คาราบาว) แต่งเพลง “หนูกัญชา” ได้เนื้อหา ครบถ้วน บอกทั้งนําไปใช้ด้านสมุนไพร และด้านเศรษฐกิจ เหมือนกับนโยบายที่พวกเรา ขับเคลื่อนกัญชาทางการแพทย์และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ด้านการแพทย์ ดังเนื้อเพลง “รากและต้นใบดอกกัญชา ใช้ปรุงเป็นยา เป็นสมุนไพร ปรุงรสแกงเนื้อแกงไก่แทนผง ชูรสเจริญอาหาร อาการทั้งโรคภัยไข้เจ็บ ยังทุเลาเบาลงถึงหายขาด กัญชามีจารึกใน ประวัติศาสตร์ว่าไทยแลนด์เป็นชาติที่ใช้กัญชาอย่างเข้าใจ”

ด้านเศรษฐกิจ ดังเนื้อเพลง “ได้ใช้ นั่นหมายถึงได้ปลูกจะกี่ต้น กี่ไร่ก็ว่าไป หรือปลูกเป็นเศรษฐกิจยิ่งดีใหญ่ เกษตรกร ไทยคงลืมตาอ้าปากอ้าปาก ก็เพราะว่าได้ปลูกได้ปลูกถึงลืมตาอ้าปาก” ผมถือว่าเราประสบความสําเร็จ เป็นขั้น เป็นตอน ในการทําให้กัญชา กลายเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีความโดดเด่น สร้างให้เกิดความมั่นคงทางยาของประเทศ สร้างงานสร้างอาชีพ ให้แก่เกษตร และผู้ประกอบการรายย่อย

โดยเริ่มก้าวแรกจากการใช้ ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์ การทําให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน และความสําเร็จล่าสุด คือ มีการแก้กฎหมายทําให้พืชกัญชาหลุดจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ผมได้ลงนามปลดล็อคพืชกัญชา จากการเป็นยาเสพติด เพื่อเปิดให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากกัญชาอย่างเหมาะสม ไม่จํากัดแค่ 6 ต้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน คือวันที่ 9 มิถุนายน 2565 นี้

ขอเรียนเน้นย้ำว่า กัญชา กัญชง มีประโยชน์มาก สามารถนํามาใช้ใน การรักษาอาการเจ็บป่วยได้ เรากําลังเดินหน้าให้คนไทยสามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้ รักษาโรคได้เช่นเดียวกับพืชสมุนไพรตัวอื่นแต่จะต้องมีกระบวนการควบคุมที่ เหมาะสม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา เพื่อให้มีกฎหมายมาควบคุมเฉพาะ หลังจาก 120 วัน ที่กัญชาจะพ้นจากการเป็นยาเสพติด

ประชาชนที่ต้องการปลูก เพื่อใช้ในครัวเรือน ไม่ต้องขออนุญาตแบบแต่ก่อน เปลี่ยนเป็นมาจดแจ้งให้รัฐทราบเพื่อให้ เป็นไปตามข้อกําหนดของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เมื่อเราได้ทําตามความประสงค์ของ ประชาชน คือ เอาต้นกัญชาออกจากยาเสพติดแล้ว ขอให้ท่านได้ใช้ประโยชน์ในทางที่ ถูกต้อง และช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เพื่อนร่วมสังคมนําไปใช้ในทางที่ผิด

ขอขอบคุณ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ทํางานร่วมกับ ภาคส่วนต่างๆ ในการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการปลูก และต่อยอด ไปสู่ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพได้ง่ายขึ้น มีการจัดทําแนวทางการขึ้นทะเบียน ผลิตภัณฑ์กัญชา กัญชง อํานวยความสะดวกให้เกษตรกร และผู้ประกอบการดําเนินการ ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันเรามีวิสาหกิจชุมชน ปลูกกัญชา 400 กว่าแห่ง ปลูกกัญชง 1,800 กว่าแห่ง ที่ได้รับอนุญาต และมีผลิตภัณฑ์จากกัญชา กัญชงออกสู่ตลาดอย่างกว้างขวาง ขอขอบคุณทุกกรมวิชาการที่เกี่ยวข้อง เขตสุขภาพทุกแห่ง และสถาบัน กัญชาทางการแพทย์ในการประสานและนํานโยบายกัญชาทางการแพทย์ไปสู่การปฏิบัติ การปลดล็อกกัญชา และนํากัญชามาใช้ประโยชน์เป็นการร่วมแรงร่วมใจของหน่วยงาน ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มาช่วยเติมเต็มในส่วนที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถทําได้

ขอขอบคุณเขตสุขภาพที่ 6 เป็นเขตสุขภาพที่มีองค์ความรู้ด้าน การแพทย์แผนไทย และความรู้ด้านสมุนไพรมาอย่างยาวนาน มีการส่งเสริมเกษตรกร และผู้ประกอบการด้านธุรกิจกัญชา เป็นแหล่งผลิตยากัญชาที่มีคุณภาพ มีการพัฒนา โมเดลธุรกิจจากส่วนของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด มีฐานข้อมูลการใช้ยากัญชาที่สามารถ ประมวลผลเรียลไทม์มีการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกัญชา รวมทั้งได้พัฒนาห่วงโซ่ อุปทาน ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทางอย่างเป็นระบบ

“เราต้องมีความเข้าใจในการใช้กัญชาให้ถูกต้อง สามารถทำให้ทั้งสุขภาพก็ดีทั้งกระเป๋าตังค์ก็ตุงทั้งโอกาสในการทำมาหากิน เสริมสร้างรายได้ก็เพิ่มมากขึ้น และอีกอย่างหนึ่งก็คือประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศเกษตรกรรมพี่น้องที่เป็นชาวเกษตรกรทำไมถึงไม่อยากจะมีพืชอีกหนึ่งชนิดซึ่งเป็นที่ต้องการของทั่วโลกเป็นพืชชนิดใหม่ผู้คนให้ความสนใจสูงมีสรรพคุณทางการแพทย์มาเป็นพืชทางเลือกอีกทางหนึ่งในการปลูกเพื่อเสริมสร้างรายได้ นี่คือจุดที่เรามองเอาส่วนที่เป็นประโยชน์ของกัญชามามอบให้กับพี่น้องประชาชนด้วยความมุ่งมั่น ด้วยความเต็มใจ ซึ่งกว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ง่ายเลย ต้องผ่านอุปสรรคนานัปการ”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การดําเนินงานของเขตสุขภาพที่ 6 ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัดชลบุรี,ระยอง, สมุทรปราการ, ตราด, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา และจันทบุรีเป็นเขตสุขภาพที่มีความ เข้มแข็งในการ ขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ดําเนินการทั้งในส่วนต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยในส่วน ต้นน้ำมีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตปลูกกัญชาจํานวน 74 ราย อยู่ระหว่างดําเนินการ ยื่นขออนุญาต จํานวน 19 ราย และแสดงเจตจํานงขอปลูก จํานวน 17 ราย

ในสวนกลางน้ำ มีสถานที่ผลิตตํารับยากัญชาที่ได้รับอนุญาต เป็นภาครัฐ จํานวน 1 แห่ง ได้แก่โรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ในส่วนปลายน้ำ สามารถเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาล ภาครัฐ และภาคเอกชน รวม 18 แห่ง เน้นให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยากัญชา ได้อย่างความปลอดภัย

จุดเด่นของเขตสุขภาพที่ 6 คือการส่งเสริมเกษตรกรและผู้ประกอบการด้าน ธุรกิจกัญชา เป็นแหล่งผลิตยากัญชาที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาโมเดลธุรกิจจากส่วนของกัญชาที่ ไม่ใช่ยาเสพติด มีฐานข้อมูลการใช้ยากัญชาที่สามารถประมวลผลเรียลไทม์รวมทั้งการ พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกัญชา

สำหรับ งานประชุมวิชาการข้างต้น มีนิทรรศการ ตลาดนัดความรู้จากภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีผลงานโดดเด่นมาร่วมจัด แสดงให้ประชาชนได้เห็น สัมผัส ชิมและลงมือทํา มีการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์แผนไทย ให้ผู้ป่วยมาตรวจรักษา และรับยากลับบ้าน ทั้งนี้เป็นความร่วมมือจากหลายภาคส่วน

Related Posts

Send this to a friend