CRIME

เปิดคำให้การ ที่มาการเข้าเป็นพยานของ 2 นายทหารอากาศ

จาก “ลูกคนดังก่อเรื่องอีกแล้ว” และ “อย่างนี้เด็กก็แย่สิ” ที่พูดคุยกับอดีต ผบ.ทอ. สู่การเข้าเป็นพยานในคดี จนพลิกเป็นการไม่สั่งฟ้องในอีก 5 ปีต่อมา

จากผลการตรวจสอบการพิจารณาสั่งไม่ฟ้องคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ของคณะทำงานอัยการสูงสุดที่มีนายสมศักดิ์ ติยะวาณิชย์ เป็นประธาน ให้พนักงานสอบสวน สอบสวนคดีใหม่ในเรื่องความเร็วรถยนต์ของนายวรยุทธ อยู่วิทยา

The Reporters จึงเริ่มสืบสวนสอบสวนข้อมูลในคดีนี้ตั้งแต่ต้น ซึ่งพบคำให้การ หนึ่งในพยานที่ปรากฏในคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการสูงสุด พบว่า มีชื่อของ พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร และนายจารุชาติ มาดทอง เข้าเป็นพยานและเป็นที่มาให้มีการสรุปว่า รถยนต์ของนายวรยุทธ ขับมาด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง และรถจักรยานยนต์ของ ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ เปลี่ยนช่องทางในระยะกระชั้นชิด จนทำให้ นายวรยุทธ ไม่สามารถหลบหลีกและหยุดรถได้ทันท่วงที เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่การประมาท

จากรายงานเรื่องร้องเรียน ของนายวรยุทธ อยู่วิทยา ร้องขอความเป็นธรรมกรณีการใช้ดุลยพินิจของพนักงานอัยการไม่ชอบด้วยกฏหมาย ต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2559

พบบันทึกคำให้การของ พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกลุบุตร อายุ 63 ปี ระบุว่า ในคืนวันที่ 2-3 ก.ย.2563 ตนเอง และพล.อ.ท.สุรเชษฐ ทองสลวย ได้เข้าร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของพล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต หรือ เสธไอซ์ ที่ร้านพาราเบลล่า ราชดำริ ตั้งแต่ เวลา 22.00 น.จนกระทั่งเวลา 04.00 น.พล.อ.ท.จักรกฤช ได้ขับรถยนต์ยี่ห้อง เมอซีเดส เบ็นซ์ รุ่น 230 อี หมายเลขทะเบียน งร 404 กรุงเทพมหานคร สีขาว โดยมี พล.อ.ท.สุรเชษฐ์​ ทองสลวย นั่งรถมาด้วย

จากนั้น ตนเองได้เห็นรถยนต์เก๋งสปอร์ตได้ขับออกไปเข้าใจว่ามีคนแจ้งเจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้วจึงได้ขับรถยนต์ต่อไปเพื่อจะไปรับประทานข้าวต้ม

โดยในคำให้การ พล.อ.ท.จักรกฤช ได้ยืนยันกับภาพกล้องวงจรปิด

โดยสาเหตุที่มาให้ปากคำ เพราะได้ทราบจากข่าวทางโทรทัศน์ ในวันที่ 3 ก.ย.2555 ว่าบุตรชายของเจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดงได้ขับรถยนต์ชนกับรถจักรยานยนต์ของตำรวจบริเวณซอยสุขุมวิท 47 แต่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ในคดีนี้

จนกระทั่งเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2558 ที่ผ่านมา พล.อ.ท.จักรกฤช ได้เดินทางไปพบเรืออากาศเอกสอาด ศบศาสตราศร นักเรียนนายเรืออากาศรุ่นพี่ ซึ่งคุ้นเคยกันดีและเรื่ออากาศเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผลิตนักบินพาณิชย์เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการจะให้บุตรชาย สอบคัดเลือกเป็นนักบินหลังจากได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องรักห่วงลูก เรืออากาศเอกสอาด ได้ยกตัวอย่าง นายเฉลิม อยู่วิทยา เจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดง ซึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับคดีลูกชายตนเองที่ขับรถชนรถจักรยานยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงแก่ความตาย ซึ่งคดียังไม่เสร็จทั้งๆที่ดาบตำรวจเป็นฝ่ายผิดเพราะขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทและไม่ปฏิบัติตามกฎจราจราจร

พล.อ.ท.จักรกฤช จึงเล่าให้เรืออาอากาศเอกสอาดฯ ฟังว่า ตนเองและพลอากาศโทสุรเชษฐ ทองสลวย ได้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุในคดีนี้ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์เรืออากาศเอกสอาดฯ ได้เดินทางมาพบที่บ้านพักและขอให้ ตนเอง ไปให้การเป็นพยานกับพนักงานสอบสวนฯ เกี่ยวกับคดีนี้ด้วย

พล.อ.ท.จักรกฤษ ระบุว่า ยินดีมาให้การเป็นพยานในคดีนี้ตามที่ได้พบเห็นในวันเกิดเหตุตามช่วงเวลาที่เกิดเหตุ โดยยืนยันไม่เคยรู้จัก นายเฉลิม อยู่วิทยามาก่อนและไม่เคยโกรธเคืองกับผู้ต้องหาในคดีนี้

จึงมาให้การกับพนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ในวันที่ 28 ก.ค.2558

มีคำให้การเพิ่มเติม ของพล.อ.ท.จักรกฤษ ให้การด้วยว่า หลังเกิดเหตุเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 เวลาประมาณ 18.00 น. ตนเองพร้อมด้วยพลอากาศโทสุรเชษฐ ทองสลวยได้ไปพบพล. อ. อ. กันต์ พิมานทิพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ที่เคารพนับถือที่บ้านของพลอากาศเอกกันต์ฯ เพื่อเยี่ยมตามปกติ ซึ่งจะเดินทางไปเยี่ยมเป็นประจำทุกเดือน

ระหว่างที่นั่งคุยกันเป็นจังหวะเดียวกันที่มีการเสนอข่าวทางโทรทัศน์ช่องอะไร จำไม่ได้ได้นำเสนอข่าวเหตุการณ์ที่บุตรชายของเจ้าของเครื่องดื่มกระทิงแดงขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงแก่ความตายที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 47 โดยพลอากาศเอกกันต์ฯ ได้พูดว่า“ ลูกคนดังก่อเรื่องอีกแล้ว”

ตนเองกับพลอากาศโทสุรเชษฐฯ จึงได้บอกกับพลอากาศเอกกันต์ฯ ว่า ตนเองทั้งสองคนได้เห็นเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุโดยเห็นตำรวจขับรถจักรยานยนต์ส่ายไปมาและได้เปลี่ยนช่องทางเดินรถตัดหน้ารถยนต์อย่างกระทันหันซึ่งข้าฯ สงสัยว่าตำรวจคงจะเมา ข้าฯยังต้องหยุดรถข้างทางเพราะเกรงว่าจะชนรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวซึ่งพลอากาศเอกกันต์ฯ ได้พูดกับตนเอง ว่า “ถ้าเป็นอย่างนี้เด็กก็แย่สิ”

หลังจากนั้นทั้งสองคนได้พูดคุยเรื่องอื่น ๆ กับพลอากาศเอกกันต์ฯ ก่อนเดินทางกลับ

ซึ่งมีคำให้การของ พล.อ.ท.สุรเชษฐ และ ร.อ.อ.สอาดที่ตรงกัน ทั้ง 3 คน และเพิ่มอยู่ในรายงานของคณะกรรมาธิการฯ สนช.ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายวรยุทธ อยู่วิทยา จนมีการเรียกสอบเพิ่ม และเสนอแนะไปยังอัยการ

แม้คณะทำงานของอัยการสูงสุด ระบุว่า ไม่รับฟัง แต่คำให้การของ พล.อ.ท.จักรกฤช ปรากฏอยู่ในคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการที่ส่งถึง ผกก.สน.ท่องหล่อ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.63

ทั้งหมดนำมาจากเอกสารของราชการ ที่ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล ในฐานะ คณะกรรมาธิการการยุติธรรมฯ มอบให้สื่อมวลชน เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2563

จะเห็นว่า คำให้การของ พล.อ.ท.จักรกฤช แม้มาให้การ หลังเกิดเหตุตั้งแต่ ปี 2555-2558 ห่างกัน 3 ปี แต่นำคำที่เคยพูดกับ อดีต ผบ.ทอ.มากล่าวอ้างยืนยันว่าเคยเล่าถึงเหตุการณ์นี้ให้ผู้อื่นฟัง ซึ่งหลังวันเกิดเหตุ 1 วัน ได้พบกับอดีต ผบ.ทอ.และเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้เข้าเป็นพยานในขณะนั้น

อย่างไรก็ตามหลังมีข่าว อัยการสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดนายวรยุทธ ยังไม่มีใครได้รับคำชี้แจงเพิ่มเติมจาก พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร และ พล.อ.ท.สุรเชษฐ​ ทองสลวย

ติดตามการคลี่ปมข้อสงสัยในพยานคดีสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ อยู่วิทยา จาก #TheReporters

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat