CRIME

รองผบ.ตร.เตรียมฟ้อง รองผบก.ภูธรภาค 9 และสื่อ ให้ข้อมูลเป็นเท็จ ทำให้เสียหาย ยันไม่ได้กลั่นแกล้ง

จากกรณี พ.ต.อ.ไพรัตน์ ไพพรรณรัตน์ รองผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ยื่นฟ้อง พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในข้อหาใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายโดยมีมูลเหตุจูงใจด้วยสาเหตุโกรธเคือง

สืบเนื่องมาจาก กรณีที่ พันตำรวจเอกไพรัตน์ ทำบันทึกกล่าวหาต่อ พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ให้พิจารณาลงโทษวินัยร้ายแรงกับ นายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินายหนึ่ง ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่อ้างว่าให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานจเรตำรวจออกสุ่มตรวจ ทรงผมเมื่อประมาณกลางปี 2561 จนเป็นเหตุมีคำสั่งประจำที่ศูนย์ปฎิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ศปก. ตร เมื่อทำบันทึกกล่าวหาไปถึงพลตำรวจเอกจักรทิพย์ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา กลับถูกย้ายจาก รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี ไปเป็นรองผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ซึ่งการโยกย้ายมีมูลเหตุจูงใจด้วยสาเหตุดังกล่าว ไม่ได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ต่อทางราชการ แต่กระทำไปเพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเสียหายแก่พันตำรวจเอกไพรัตน์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ซึ่ง พ.ต.อ.ไพรัตน์ ได้ไปให้สัมภาษณ์สื่อช่องหนึ่ง พาดพิงมาถึง พล.ต.อ.สุชาติ ธีรสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งในกรณีการตรวจสอบทรงผม และการกลั่นแกล้ง

พล.ต.อ.สุชาติ เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาในการฟ้องนายตำรวจที่พาดพิง และสื่อมวลชนที่ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งมีหลักฐานยืนยัน ได้ทั้งสองเรื่องไม่กลั่นแกล้ง และดำเนินการไปตามกฏหมาย โดยเฉพาะข้อร้องเรียนเรื่องการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลยกฟ้องไปแล้ว ทั้งที่คดีศาลจังหวัดเพชรบุรี และศาลแพ่งกรุงเทพใต้

โดยที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี ศาลยกฟ้องคดีที่ ส.ต.ท.กมลวิสิฐ สิบลับ ที่ถูก พ.ต.อ.ไพรัตน์ ฟ้องเรื่องการตรวจสอบทรงผม ไม่ได้กล่าวเท็จ ซึ่งมีพยานหลักฐานชี้แจงต่อศาลชัดเจน จนศาลยกฟ้อง การที่ พ.ต.อ.ไพรัตน์ กล่าวถึงเรื่องนี้อีก เป็นการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ และยังไปให้ข่าวที่เป็นเท็จด้วย

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ พิพากษายกฟ้องคดีที่ พ.ต.อ.ไพรัตน์ ไพรพรรณรัตน์ เป็นโจทก์ ยืนฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นจำเลย ซึ่งระบุว่า พล.ต.อ.สุชาติ ธีรสวัสดิ์ พล.ต.ท.เติมพงษ์ สิทธิประเสริฐ และ พ.ต.อ.ชูศักดิ์ ขนาดนิด กระทำการละเมิดในการออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัย พ.ต.อ.ไพรัตน์ ไม่ชอบด้วยกฏหมาย และฟ้องเรียกค่าเสียหาย 300,100 บาทจากตำรวจทั้ง 3 นาย

โดยโจทก์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 พล.ต.อ.สุชาติ ธีรสวัสดิ์ รักษาราชการแทนจเรตำรวจแห่งชาติ มีหนังสือสำนักงานรักษาราชการแทนจเรตำรวจแห่งชาติที่ 001(จตช)/152 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2560 สั่งให้พลตำรวจโทเติมพงษ์ สิทธิประเสริฐ เจรตำรวจ(หัวหน้าจเรตำรวจ) ดำเนินการทางวินัยกับพ.ต.อ.ไพรัตน์ ตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจที่ 255/2560 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีโจทก์ คือ พ.ต.อ.ไพรัตน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการวิทยาการตำรวจ กองบัญชาการศึกษา มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จัดกิจกรรมดนตรีแผ่นดิน จังหวัดภูเก็ต โดยให้ทีมงานจำหน่ายบัตรชมกิจกรรมให้ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตโดยมีพฤติกรรมข่มขู่ บีบบังคับ ล่อลวง ขู่เข็ญ ให้ซื้อบัตรเข้าชม ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ มีพ.ต.อ.อุดร วงษ์ชื่น รองผู้บังคับการกองตรวจราชการ 4 สำนักงานจเรตำรวจเป็นประธานกรรมการ ซึ่งพ.ต.อ.อุดร เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการดำเนินการทางวินัย จเรตำรวจ(สบ8) ไม่มีอำนาจสั่งตั้งเพราะไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาต่อโจทก์ จึงให้ผู้บังคับบัญชาการของโจทก์เป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งโยกย้ายพ.ต.อ.อุดรไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการกองตรวจราชการ 7 สำนักงานจเรตำรวจแห่งชาติ และพล.ต.ท.เติมพงษ์ มีคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจที่ 35/2561 ลงวันที่ 4 เมษายน 2561 เรื่องแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยแต่งตั้ง พ.ต.อ.ชูศักดิ์ ขนาดนิด รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 8 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งโจทก์เห็นว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รู้ถึงหลักการดำเนินการทางวินัยแก่ตำรวจหน่วยอื่นว่า จเรตำรวจแห่งชาติ หรือ จเรตำรวจ สบ.8 หัวหน้าจเรตำรวจ ไม่มีอำนาจดำเนินการตามวินัย พรบ.แห่งชาติ พ.ศ.2557 มาตรา 84 หากพบว่าตำรวจหน่วยอื่นอยู่ในลักษณะงานบริหาร ไม่ได้มอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาของตำรวจในสายงานจเรตำรวจสั่งการหรือรับผิดชอบงานวินัย

โจทก์ จึงเห็นว่าการที่พลตำรวจเอกสุชาติ เป็นผู้สั่งและ พลตำรวจโท เติมพงษ์ ผู้ออำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการให้ดำเนินการทางวินัยกับโจทก์ มิใช่ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งการได้ตามกฏหมาย การที่ พ.ต.อ.ชูศักดิ์ มีหนังสือให้โจทก์ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจึงเป็นการสั่งการที่ไม่ชอบด้วยกฏมาย ทั้งการส่งคำสั่งแลัหนังสือให้โจทก์ชี้แจงไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้โจทก์เสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และเสียสิทธิก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ จึงฟ่องเรียกค่าเสียหาย 300,100 บาทจากตำรวจ 3 นาย

ศาลเห็นว่า พลตำรวจเอกสุชาติ มีอำนาจสั่งการให้สำนักงานจเรตำรวจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และทางพิจารณาให้ความว่าพล.ต.ท.เติมพงษ์ ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานจเรตำรวจ จึงมีอำนาจหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนหรือร้องทุกข์ข้าราชการตำรวจและดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชกฤษฏีกา แบ่งส่วนราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 มาตรา 5 และพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ส.2557 มาตรา 13 พล.ต.ท.เติมพงษ์จึงมีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามสำเนาคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจที่ 255/2560 เอกสารหมาย จ.13

การที่พ.ต.อ.ชูศักดิ์ ประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำสั่งดังกล่าวส่งคำสั่งและหนังสือให้โจทก์ยื่นชี้แจงจึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว พล.ต.อ.สุชาติ พล.ต.ท.เติมพงษ์ และพ.ต.อ.ชูศักดิ์ กระทำโดยมีกฏหมายให้อำนาจกระทำได้ ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และคดีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่นต่อไป เนื่องจากไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลจึงยกฟ้อง

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat