BANGKOK

เก่าไปใหม่มา … เปิดที่มาดีไซน์ป้ายใหม่กรุงเทพมหานครที่สกายวอล์คปทุมวัน

หนึ่งในแลนด์มาร์กของกรุงเทพมหานครอย่างสกายวอล์คสี่แยกปทุมวันกับป้ายพื้นหลังสีขาว Bangkok City of Life ซึ่งเรามักจะเห็นชาวต่างชาติมาถ่ายรูปเช็กอินและแชร์กันทางสื่อสังคมออนไลน์เมื่อเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร อยู่ในกระแส และเป็นที่พูดถึงว่าควรได้รับการปรับปรุงเนื่องจากสีซีดมากแล้ว

เมื่อคืนวันที่ 28 พ.ค. กรุงเทพมหานครตัดสินใจเปลี่ยนเป็นป้ายข้อความ “กรุงเทพฯ Bangkok” ด้วยดีไซน์ใหม่ ฟอนต์ใหม่ พื้นหลังสีเขียวสะดุดตา แทนป้ายเก่าที่ใช้มานานกว่า 20 ปี พร้อมต้อนรับเทศกาล Pride Month ในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ติดตั้งแล้วเสร็จ และมีการเผยแพร่ภาพทางสื่อ และโซเชียลมีเดียของผู้พบเห็นได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง บางส่วนก็ว่าสดใสใหม่ดี บางส่วนบอกว่า ชอบของเก่ามากกว่า The Reporters จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับป้ายใหม่ของกรุงเทพมหานคร เปิดที่มาของดีไซน์ สี ฟอนต์ ลวดลาย และนัยยะแฝงในป้ายนี้

ป้ายสติ๊กเกอร์ใหม่ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร มีที่มาจากโลโก้กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ โดยนำวัชระ อาวุธประจำกายของพระอินทร์ มาออกแบบเป็นลวดลาย สีสันของลวดลายและกราฟิกก็มีความหมาย สีเขียวมาจากสีกายของพระอินทร์ที่เป็นสีเขียวมรกต ซึ่งเป็นสีประจำกรุงเทพมหานคร ขณะที่ลวดลายจะใช้ระบบสีรองที่สะท้อนถึงความสุขของผู้คน การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมและสิ่งใหม่เข้าด้วยกัน

นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าแต่ละสีจะสะท้อนถึงความเป็นกรุงเทพมหานคร เช่น สีแดง มาจากเสาชิงช้า สีเหลืองและสีทอง สะท้อนถึงวัดวาอาราม เช่น วัดพระแก้ว สีม่วงอ่อนสะท้อนนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ผสานกับเทคโนโลยี สีฟ้าอ่อน สะท้อนถึงความโปร่งใส และสีฟ้าสะท้อนว่ากรุงเทพฯ ดุจเมืองสวรรค์

ก่อนที่จะมาเป็นป้ายสติ๊กเกอร์ใหม่นี้ กรุงเทพมหานครได้สำรวจความเห็นประชาชนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 50 เขต ว่าอยากเห็นป้ายสติกเกอร์ใหม่ของกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไร ก่อนจะเริ่มออกแบบอย่างจริงจัง โดยป้ายสติ๊กเกอร์อีกฝั่งของสกายวอล์คแยกปทุมวันจะใช้พื้นหลังสีชมพูสะท้อนถึงความคัลเลอร์ฟูล เปิดรับความหลากหลายในเดือน Pride Month

นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าแต่ละสีจะสะท้อนถึงความเป็นกรุงเทพมหานคร เช่น สีแดง มาจากเสาชิงช้า สีเหลืองและสีทอง สะท้อนถึงวัดวาอาราม เช่น วัดพระแก้ว สีม่วงอ่อนสะท้อนนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ผสานกับเทคโนโลยี สีฟ้าอ่อน สะท้อนถึงความโปร่งใส และสีฟ้าสะท้อนว่ากรุงเทพฯ ดุจเมืองสวรรค์

ก่อนที่จะมาเป็นป้ายสติ๊กเกอร์ใหม่นี้ กรุงเทพมหานครได้สำรวจความเห็นประชาชนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 50 เขต ว่าอยากเห็นป้ายสติกเกอร์ใหม่ของกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไร ก่อนจะเริ่มออกแบบอย่างจริงจัง โดยป้ายสติ๊กเกอร์อีกฝั่งของสกายวอล์คแยกปทุมวันจะใช้พื้นหลังสีชมพูสะท้อนถึงความคัลเลอร์ฟูล เปิดรับความหลากหลายในเดือน Pride Month

“ผมยินดีรับฟังฟีดแบค ฟีดแบคหนึ่งที่ทำให้ผมชอบ เขาบอกว่าชอบ CI ใหม่ แต่ถ้าเอามาเป็นป้ายควรออกแบบเพิ่ม เราจะนำไปปรับครับ” รองผู้ว่าฯ ศานนท์ กล่าว

ส่วนที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับงบป้ายดังกล่าว ว่าใช้งบประมาณสูงเกือบ 3 ล้านบาท นายศานนท์ ชี้แจงว่าเป็นงบประมาณในการประกวดราคาจ้างเหมาดำเนินการกำหนดอัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร หรือการทำ CI ทั้งระบบ ไม่ใช่แค่เฉพาะงานนี้ โดยหลังจากนี้จะทำเดินหน้าเปลี่ยนป้ายตามแนวรถไฟฟ้าอีก 4 จุด เช่น แยกโอศกมนตรี และแยกราชประสงค์ ซึ่งจะนำฟีดแบคที่ได้รับทั้งหมดมาปรับปรุงและออกแบบเพิ่มเติม

คงต้องมาลองดูกันว่า ฟอนต์ใหม่ ป้ายใหม่ และการกำหนดอัตลักษณ์และภาพลักษณ์หลักของกรุงเทพมหานครนี้ จะเป็นที่ถูกใจนักท่องเที่ยว และชาวกรุงเทพฯ และทำให้พื้นที่แลนด์มาร์คนี้เป็นที่นิยมเช่นเดิม หรือมากกว่าเดิม หรือไม่

Related Posts

Send this to a friend