รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงกระบวนการทำงานของ Fake News Center จะต้องมีการดำเนินการให้มีความรวดเร็ว ตรวจสอบให้ได้รับรู้ถึงความถูกต้องและมีวิธีการบริหารจัดการข่าวปลอมให้ได้เร็วที่สุด โดยจะมีทีมงานติดตามและคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ มีคณะทำงานตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีแนวโน้มเป็นข่าวปลอม ทีมงานดำเนินขั้นตอนการตอบโต้ข่าวสารปลอม และเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้อง ตลอดจนคณะทำงานประสานตรวจสอบข้อมูลและจัดทำข้อมูลที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ ปัจจุบัน พบการกระทำความผิดบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีผู้เสียหายแจ้งความต่อทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย
เรื่องที่ 1 การใช้ Social Media เป็นองค์ประกอบการกระทำความผิดตามกฎหมายไทย / กฎหมายนานาชาติ ได้แก่ (1) การก่อการร้ายสากล / ปัญหาชายแดนภาคใต้ (2) ความรุนแรงสุดโต่ง (3) ยาเสพติด (4) การลามกอนาจาร / เด็กและเยาวชน (5) อาหาร ยา วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง (6) การจัดเก็บภาษี (7) ทรัพย์สินทางปัญญา (8) สินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น (9) ความมั่นคงของประเทศ (10) ความสงบเรียบร้อยของสังคม / ขัดศีลธรรมอันดี
เรื่องที่ 2 การหามาตรการในการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในด้านต่างๆ ได้แก่ (1) พฤติกรรมที่รุนแรงและเกี่ยวกับอาชญากรรม ความรุนแรงและการยุยง บุคคลและองค์กรที่เป็นอันตราย การส่งเสริมหรือการเผยแพร่อาชญากรรม การร่วมมือกันทำอันตราย สินค้าควบคุม (2) ความปลอดภัย อาทิ การฆ่าตัวตายและการทำร้ายตัวเอง ภาพโป๊เปลือยของเด็ก และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้ใหญ่ การข่มเหง รังแกและการก่อกวน การละเมิดความเป็นส่วนตัวและสิทธิความเป็นส่วนตัวของรูปภาพ เรื่องล่อหลอกให้ถูกโจรกรรมทรัพย์สิน (3) เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม อาทิ คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง เนื้อหารุนแรงและโจ่งแจ้ง เนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทบุคคลอื่น ภาพโป๊เปลือยของผู้ใหญ่และกิจกรรมทางเพศ การชักชวนทางเพศ ความรุนแรงและการทำร้ายจิตใจ (4) การหลอกลวง และ Fake News อาทิ สแปม การบิดเบือนความจริง ข่าวปลอม การล่อหลอก Fake Account (5) การเคารพทรัพย์สินทางปัญญา (6) คำขอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา อาทิ คำขอจากผู้ใช้ มาตรการป้องกันเพิ่มเติมสำหรับผู้เยาว์ และ (7) ความสงบเรียบร้อยของสังคม อาทิ สถาบันหลักของประเทศ และการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นต้น