PUBLIC HEALTH

รวมพลังฟื้นท่องเที่ยวไข่มุกอันดามัน เปิดโครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ “Digital Yacht Quarantine” ด้วย NB-IoT และสายรัดข้อมืออัจฉริยะ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมด้วย AIS, PMH-ผู้ให้บริการ POMO กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย รวมพลังสร้างชาติฟื้นฟูการท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต เปิดตัว “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยศักยภาพโครงข่าย AIS NB- IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ” (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) เสริมขีดความสามารถด้านสาธารณสุขไทย สร้างความมั่นใจและแรงจูงใจแก่นักท่องเที่ยว กลับมากระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภูเก็ตและภาคใต้อีกครั้ง

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า “วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และสร้างความเสียหายเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และพึ่งพาจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยในปี 2563 ภูเก็ตสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวสูงกว่า 320,000 ล้านบาท”

ดีป้า พร้อมด้วยพันธมิตร อย่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส , บริษัทพีเอ็มเอชโฮลดิ้ง จำกัด (POMO) กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย เล็งเห็นปัญหาในจุดนี้ จึงได้ร่วมมือจัดทำ “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ -Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยแพลตฟอร์มนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ ผ่านเทคโนโลยี NB-IoT (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) เครื่องมือมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยวระหว่างกักตัว 14 วัน ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจและเสริมความปลอดภัยด้านสาธารณสุขแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต ทำให้การกักตัวบนเรือยอชต์ของนักท่องเที่ยวและการทำงานของทีมแพทย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งเป็นอันดับ 1 ด้วยเครือข่าย AIS 4G, 5G  ที่มีคลื่นมากที่สุด ครบทั้งย่านความถี่ต่ำ,กลาง และสูง ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ (คลื่น 700 MHz, คลื่น 2600 MHz และคลื่น 26 GHz) ตลอดจนเครือข่าย IoT ทั้ง NB–IoT และ eMTC ที่ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด เรามีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและขีดความสามารถของทีมงาน มายกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมากับ “โครงการ AIS5G สู้ภัยโควิด” ที่ได้นำศักยภาพของโครงข่ายไปใช้ในพื้นที่กักตัวและโรงพยาบาลสนามหลักหลายแห่ง อาทิ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ,ศูนย์ห่วงใยคนสาคร, ฯลฯ ซึ่งล่าสุดกับ “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยศักยภาพโครงข่าย AIS NB- IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ” (NB-IoT Wristband Tourist Tracking)” ที่เป็นรูปแบบการกักตัวนักท่องเที่ยวบนเรือยอชต์กลางทะเลก่อนเดินทางขึ้นบก เราจึงเลือกใช้เครือข่าย Narrow Band IoT ที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT บนคลื่น 900 MHz ที่สามารถกระจายสัญญาณออกไปในทะเลได้มากกว่า 10 กม. พร้อมด้วยแพลตฟอร์ม Cloud  มาเป็นเครือข่ายหลักเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tracking) ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง หรือ POMO ผู้ให้บริการโซลูชั่น Tracking และ Monitoring ที่จะมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยว ทั้งอุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, สัญญาณชีพจร รวมถึงพิกัดของนักท่องเที่ยว และส่งข้อมูลต่อมายังแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์ ในระหว่างกักตัว 14 วันบนเรือก่อนเดินทางขึ้นบกเพื่อท่องเที่ยวต่อไป

สำหรับ โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยศักยภาพโครงข่าย AIS NB- IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) มีขั้นตอนในการให้บริการคือ เมื่อมีนักท่องเที่ยวประสานเดินทางเข้ามาทางเรือ ทางสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย จะเป็นตัวแทนประสานงาน กับหน่วยงานทางการแพทย์เพื่อทำการตรวจโรคในครั้งแรก พร้อมให้นักท่องเที่ยวสวม สายรัดข้อมืออัจฉริยะ หรือ NB-IoT Wristband Tourist Tracking ที่จะส่งตัวเลขสุขภาพของนักท่องเที่ยวแต่ละท่านตลอด 14 วันของการกักตัวเข้ามาที่ Dash Board ณ ที่ทำการ ท่าเทียบเรืออ่าวปอ ซึ่งหลังจากที่กักตัวครบ 14 วัน จะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์อีกครั้งว่า นักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงโควิด-19 มากน้อยเพียงใด เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนให้นักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นฝั่งภูเก็ตต่อไป”

โครงการ Digital Yacht Quarantine ถือเป็นตัวอย่างการนำเทคโนโลยีดิจิทัลจากผู้ให้บริการโครงข่ายและ Startups ไทย เข้ามาเสริมขีดความสามารถด้านการสาธารณสุข การสร้างมาตรฐานใหม่ของการท่องเที่ยวแบบ New Normal ไปอีกขั้น  พร้อมขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ สอดรับกับนโยบาย “ภูเก็ตโมเดล (GEMMSS)” ทำให้จังหวัดเป็นต้นแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและการควบคุมโควิด-19 แห่งแรกในประเทศไทย ตามเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภูเก็ตคือ “เมืองน่าอยู่เพื่อการท่องเที่ยวยังยืน” ช่วยกระตุ้นและจูงใจนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เดินทางมายังภูเก็ตมากขึ้น ก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักและแข็งแกร่งอีกครั้ง” ผศ.ดร.ณัฐพล ย้ำในตอนท้าย

NBIoT Wristband Tourist Tracking : นวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ

NB-IoT Wristband Tourist Tracking หรือนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ ถือเป็น Digital Tools อันใหม่ โดยเป็นความร่วมมือ ระหว่าง เอไอเอส และบริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง จำกัด หรือ POMO ผู้ให้บริการโซลูชั่น Tracking และ Monitoring ในการพัฒนาโซลูชัน Healthtech for Tourist Quarantine สำหรับ Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย มาช่วยมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยว ทั้ง อุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, สัญญาณชีพจร, ค่าความดันรวมถึงพิกัดของนักท่องเที่ยว เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์ ในระหว่างกักตัว 14 วันบนเรือ

ทั้งยังมาพร้อมกับฟังก์ชันสำคัญ SOS ปุ่มฉุกเฉินที่จะแจ้งเตือน ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้ ถือเป็นการนำเทคโนโลยี AIS IoT มาช่วยงานด้านสาธารณสุข ลดการสัมผัส ลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ เสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ Devices ที่นำมาใช้ในโครงการ Digital Yacht Quarantine มี 2 รุ่นคือ Activ 10+ และSmartwatch Active 30+

เกี่ยวกับ AIS NBIoT

เอไอเอสเป็นรายแรกที่เปิดให้บริการเครือข่าย NB-IoT และ EMTC ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Internet Of Things ที่จะเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานระยะไกล, เหมาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่ไม่มีการเคลื่อนที่มากนัก,ใช้ Bandwidth น้อยในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT , ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อย ทำใหัอุปกรณ์ IoT ที่มีการใช้พลังงานจาก Battery หรือ Solar Cell สามารถทำงานได้อย่างยาวนาน ดังนั้นจึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันกลุ่ม Smart Things ที่เน้นการอ่านค่าจากข้อมูล Sensor และรับคำสั่งกลับไปจาก Server หรือ Cloud ส่วนกลางเป็นหลัก ตอบโจทย์ Smart City โดย สมาคม GSMA – Global System for Mobile Communications Association ได้ประกาศรับรองให้ เอไอเอส เป็นผู้ให้บริการรายแรกและรายเดียวในไทย ที่มีทั้งโครงข่าย NB-IoT  และ eMTC (enhanced Machine-Type Communication) ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่ง AIS NB-IoT รองรับการใช้งานและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ครอบคลุมทั้งบนพื้นดิน สามารถกระจายสัญญาณได้มากกว่า 10 กม. ในทะเล

จุดเด่นเครือข่าย Narrow Band IoT ประกอบด้วย

1.สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี

2.สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน

3.รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ

4.สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้ เหมาะแก่การนำไปใช้ ในทุกกลุ่ม Solutions อาทิ Smart City, Smart Industrial, Smart Logistics และ Smart Home

ทั้งนี้ ในปี 2018 เอไอเอส ยังได้รับการยอมรับจาก Frost & Sullivan องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ที่ประกาศให้เอไอเอสเป็น Thailand IoT Solutions Provider of the Year 2018 หรือ องค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านบริการ IoT ตอกย้ำเครือข่ายที่ดีที่สุด

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat