รมว.ศึกษาธิการ ย้ำว่า การเรียนการสอนออนไลน์นั้น เป็นการเรียนการสอนเสริมเฉพาะเด็กนักเรียนชั้น ม.4-5-6 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ ซึ่งมีเพียง10% เท่านั้น ที่ไม่มีอุปกรณ์แทปเล็ต โดยครูก็จะต้องทำการเรียนการสอนเสริมทักษะที่โรงเรียนแทน เพื่อให้ได้ความรู้สองทางเท่ากับคนอื่นๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันว่า กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้มีนโยบายที่จะผลักภาระไปให้ซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมทั้งแท็ปเล็ต และอินเตอร์เน็ตและมองว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนจะช่วยสร้างความกระตือรือร้นให้กับผู้ปกครองด้วยเพื่อให้มามีบทบาทในการช่วยเหลือเด็กๆ เพิ่มขึ้น
แม้นักเรียนจะไม่มีอุปกรณ์ใช้สำหรับการเรียนผ่านระบบออนไลน์ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประเมินศักยภาพ เพราะเชื่อว่าครูผู้สอนจะประเมินความสามารถของนักเรียนได้ ขณะเดียวกันหากมีความจำเป็นครูผู้สอนต้องติดตามและประเมินว่าเด็กนักเรียนในชั้นเรียนได้เรียนผ่านระบบออนไลน์หรือไม่ ซึ่งอาจจะให้ผู้ปกครองรายงานผลหรือครูทำระบบการเช็คชื่อการเข้าเรียนควบคู่ไปด้วย
จากการลงพื้นที่ จ.อ่างทอง วันนี้พบว่าครึ่งหนึ่งของการเรียนการสอนออนไลน์ ผู้ปกครองเลือกให้เข้าระบบอินเตอร์เนตเรียนมากกว่าเปิดดูโทรทัศน์ ทำให้เกิดปัญหาแย่งสัญญานจนเป็นที่มาของสัญญานล่ม ซึ่งไม่คิดว่าจะเลือกดึงสัญญานและดูโทรทัศน์ผ่านมือถือจำนวนมาก ดังนั้นซึ่งเมื่อพบว่า ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ก็จะมีการหากับกระทรวงดิจิทัลฯ และ รัฐบาล เพื่อให้เข้ามารับภาระ โดยจะเสนอ ครม.ในวันอังคารที่ 25 พ.ค.นี้
รมว.ศึกษาธิการ พบอีกว่า หลายบ้านการต่อกล่องสัญญาณไม่ถูกต้อง และยังจูนสัญญานไม่ได้ ก็เตรียมที่จะให้น้องๆ อาชีวะ เข้าไปช่วยติดตั้ง และจะหากล่องสัญญาณจากกระทรวง ดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือ DE จำนวน 2 ล้านกล่องไปแจกครอบครัวที่ขาดแคลน แต่ยืนยันว่าไม่มีแจกแท็ปเลตแน่นอนเพราะรัฐบาลไม่มีงบประมาณ