KNOWLEDGE

ม.มหิดล วิจัยผลของดนตรีต่อคลื่นไฟฟ้าสมอง สู่การออกแบบกิจกรรมบำบัดตรงจุด

อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยข้อมูลงานวิจัย เกี่ยวกับผลของดนตรี ต่อคลื่นไฟฟ้าสมอง เพื่อนำสู่การออกแบบกิจกรรมบำบัดตรงจุด โดยได้ร่วมกับทีมแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญภายใต้ทุนวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมออกแบบกิจกรรมใน 2 ลักษณะ ที่เกี่ยวกับดนตรี เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าสมองเปรียบเทียบกัน

ปัจจุบันโครงการฯ ยังอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล โดยหวังให้ผลการวิจัย สามารถช่วยลดความรุนแรงซึ่งนำไปสู่พฤติกรรม ที่ก้าวร้าวรุนแรงในเยาวชน จากการออกแบบดนตรีบำบัด ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมายังคงไม่มีกิจกรรมในลักษณะนี้ เพื่อใช้ในรายบุคคลอย่างตรงจุด

อาจารย์ ดร.ณรงค์ กล่าวว่า โดยที่ผ่านมาได้ริเริ่มศึกษาครั้งแรก กับเยาวชนกลุ่มเป้าหมายในสถานพินิจ เพื่อดูผลกระทบของการใช้ดนตรีบำบัด ในการช่วยกล่อมเกลา พฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง โดยได้ร่วมกับทีมแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ให้การสนับสนุน การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง ด้วยเครื่องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง (EEG) พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญภายใต้ทุนวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมออกแบบกิจกรรมใน 2 ลักษณะ โดยกิจกรรมแรกเลือกเพลงที่มีอยู่แล้ว และเกี่ยวข้องกับเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย สำหรับวงดนตรีขนาดเล็ก เล่นกระชับความสัมพันธ์ ส่วนอีกกิจกรรมเป็นการแต่งเพลงขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าสมองเปรียบเทียบกัน

ปัจจุบันโครงการฯ ยังอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล โดยหวังให้ผลการวิจัย สามารถช่วยลดความรุนแรงซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรงในเยาวชน จากการออกแบบดนตรีบำบัด ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมายังคงไม่มีกิจกรรมในลักษณะ เพื่อใช้ในรายบุคคลอย่างตรงจุด นอกจากนี้ยังได้ศึกษาในรายละเอียด ถึงผลของการฟังดนตรีในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทั้งในแบบใส่หูฟัง และเปิดจากลำโพงร่วมด้วย

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทธี เชียงชะนา หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะที่เราฟัง ร้องหรือเล่นดนตรี สามารถการกระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน อาทิ สมองส่วนควบคุมการมอง – ได้ยิน- เคลื่อนไหว ในขณะที่สมองเรามียีนส์คอยควบคุม จังหวะ และ เวลา ซึ่งมีความสอดคล้องกับจังหวะดนตรี (Rhythm) และมีงานวิจัยหลายชิ้นค้นพบว่าจังหวะดนตรี มีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อ ทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Functions) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน การควบคุมตัวเอง (Inhibitory Control) ซึ่งมีผลต่อการลดปัญหาพฤติกรรม

“การออกแบบดนตรีบำบัด เพื่อใช้ในการฝึกทักษะ EF ด้านการควบคุมตัวเอง โดยทั่วไปสามารถฝึกได้ตั้งแต่วัยเยาว์ ด้วยกิจกรรม ทำตามคำสั่งจากเนื้อเพลง หรือ กิจกรรมดนตรี ผู้นำ -ผู้ตาม” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทธี กล่าว

ทั้งนี้วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ สถาบันดนตรี Top 50 ของโลก ที่ผ่านการรับรองหลักสูตร จากสถาบันรับรองคุณภาพหลักสูตรดนตรีของยุโรป แห่งแรกของเอเชีย

Related Posts

Send this to a friend