ENVIRONMENT

CoP Monitor สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าภายใต้การกำกับของ กกพ.

ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ….. ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแต่ละแห่งที่มีขนาดกำลังการผลิตตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป จะมีการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือที่เราเรียกกันว่าการจัดทำรายงาน EIA แต่สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตติดตั้งที่ต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ ทั้งประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ถ่านหิน ขยะอุตสาหกรรม ก๊าซธรรมชาติ ขยะมูลฝอยชุมชน รวมถึง พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม

ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้ความสำคัญต่อการประกอบกิจการไฟฟ้าภายใต้การกำกับติดตาม จึงได้ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หรือต้องปฏิบัติตามประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรายงาน CoP ให้มีรายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีการ กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเป็นไปในมาตรฐานและทิศทางเดียวกัน ซึ่งรายงาน CoP นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และจะเป็นหลักประกันด้านความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ โดยผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจะต้องจัดทำรายงาน CoP Monitor เพื่อรายงานผลการดำเนินงานที่ถูกต้องตามหลักการปฏิบัติที่ กกพ. ประกาศไว้ รวมถึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตตลอดการดำเนินโครงการอย่างเคร่งครัด ภายใต้การตรวจติดตามตรวจสอบของเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน กกพ. ทั้งในส่วนภูมิภาค ซึ่งก็คือ สำนักงาน กกพ. 13 เขต ทั่วประเทศ และสำนักงาน กกพ. ส่วนกลาง

อย่างไรก็ตาม ทุกขั้นตอนในการตรวจติดตามนั้น ทางสำนักงาน กกพ. ได้มีการนำระบบออนไลน์เข้ามาให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าให้มีความต่อเนื่อง และสามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างทันที เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการกำกับติดตามของ กกพ. อีกด้วย

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat