ทนายความ อยากเห็นสปริตจำเลยคดีตากใบมาต่อสู้คดี หวัง ‘พิศาล’ สละความคุ้มกันในฐานะ สส.

วันที่ 12 ก.ย.67 ที่ศาลจังหวัดนราธิวาส ทนายความฝ่ายโจทก์ ซึ่งเป็นญาติของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จำนวน 48 ราย แถลงหลังจากศาลจังหวัดนราธิวาส มีคำสั่งออกหมายจับจำเลย 6 ราย ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการระดับสูง และออกหมายเรียกจำเลย 1 ราย เนื่องจากมีความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญเพราะเป็น สส.
ทนายความนำโดย นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความจากสภาทนายความ เปิดเผยว่า วันนี้ศาลนัดสอบปากคำจำเลย 7 คน ที่มีคำสั่งฟ้องในข้อหาฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่าผู้อื่นและกักขังหน่วงเหนี่ยว เมื่อวันที่ 23 ส.ค.67 แต่จำเลยไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลจึงออกหมายจับจำเลย 6 คน เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่อยู่สมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ในการออกหมายเรียก จำเลยที่1 ให้มาศาลอีกครั้ง 15 ต.ค.67
นายรัษฎา กล่าวว่า ในส่วนจำเลยที่ถูกออกหมายจับ ศาลออกหมายแจ้งวันนัดมาศาล ส่งหมายศาล เป็นการให้โอกาส ถ้าจำเลยที่ศาลออกหมายจับแล้วยังไม่มาอีก ศาลคงมีมาตรการ กระบวนการยุติธรรมจะเดินหน้าไปได้
“ประชาชนรอคอยมานานมาก รอกระบวนการยุติธรรมชาวบ้านรอจนถึงที่สุดจนคดีจะหมดอายุความ ในอีก 43 วันข้างหน้า จนชาวบ้านฟ้องคดีเอง ไต่สวนฟ้องคดีเอง จนศาลเห็นว่าคดีมีมูล เป็นโอกาสของจำเลยที่จะพิสูจน์ความบริสุทธ์ ของจำเลยเองด้วย เพราะในสายตาประชาชนมีข้อสงสัยว่าคน 85 คนที่เสียชีวิต ใครอยู่ในความรับผิดชอบบ้าง ถ้าถูกตำรวจ ฝ่ายปกครองและตำรวจศาลจับกุม อาจไม่ได้ประกันตัวก็ได้ จึงขอความร่วมมือมาต่อสู้กระวนการยุติธรรม จะเห็นว่าประชาชนที่ชุมนุม ถูกฟ้องดำเนินคดี ประชาชนกล้ามาพิสูจน์ความยุติธรรม ตัวของท่านเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม”
นายรัษฎา กล่าวว่า ศาลยังมีหนังสือด่วนที่สุดไปถึงสภา ผู้แทนราษฎร ผ่านสำนักงานยุติธรรม เพื่อให้จำเลยที่ 1 ที่เป็น สส สละความคุ้มกัน มาร่วมการพิจารณาคดีของศาล
“ท่านควรสละความคุ้มกัน จะเป็นประโยชน์กับตัวท่านเอง หวังว่า สภาฯจะเรียกร้องให้จำเลยที่เป็นสส.มาเข้าสู่กระบวนการพิจารณา”
นายรัษฎา กล่าวย้ำว่า อายุความตามกกฏหมาย กำหนดว่าต้องได้ตัวจำเลยมาศาลด้วย หากจำเลยคิดว่าจะหลบหนีให้พ้นอายุความ แต่อย่าลืมว่าประชาชน ยังจดจำ ท่านยังเป็นจำเลยในใจระชาชนทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
“นี่เป็นคดีอาญาเป็นการเยียวยาทางจิตใจ ถ้ากระบวนการพิสูจน์คดีไม่ถึงที่สุด จะค้างคาในใจคนทั่วโลก ความเสียหายส่งไปถึงต่างประเทศ ว่าประเทศไทยมีการละเมิดสิทธิมนุษย์อย่างที่เห็น”
นายรัษฎร กล่าวย้ำว่า นี่เป็นคดีตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสืบสวนตั้งแต่เบื้องต้นแล้ว เนื่องจากมีคนตาย 85 คน และคณะกรรมการอิสระฯ ที่รัฐบาลเมื่อปี 2547 ตั้งขึ้น พบว่าเจ้าหน้าที่ยอมรับว่ามีการใช้กระสุนปืนสงคราม กระสุนปืนจริง มีภาพใช้อาวุธป่นจริง
“การที่ชาวบ้านลุกขึ้นนำคดีมาสู่ศาล ถือเป็นคดีประวัติสาสตร์ บ้านเมืองเราต้องบันทึกไว้ว่าเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้น มีการฟ้องคดี จำเลยมาพิสูจน์หรือไม่มา ถ้าคดีหมดอายุความไม่มาต่อสูคดี ก็ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย อย่าให้การตายของเขาสูญเปล่า สิ่งทีญาติมาร้องคดีเป็นการเรียกร้องความยุติธรรมให้ครอบครัว”
นายรัษฎา กล่าวว่า คดีนี้อาจไม่ใช่คดีแรกในการออกหมายจับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม เพราะมีกรณีชาวบ้านจะนะฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมการคัดค้านท่อส่ง จึงอยากให้จำเลยคดีนี้้มา พิสูจน์ว่าการใช้มาตรการสลายการชุมนุมโดยไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นอุทธาหรณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องระวัง ว่าการใช้กำลังเหมาะสมหรือไม่
นายปรีดา นาคผิว ทนายความ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวถึงความคุ้มกันของ สส.ที่ศาลจะส่งหนังสือด่วนที่สุด ขอให้ทางสภาพิจารณาให้ พล.อ.พิศาล สส.สละความคุ้มกัน ซึ่งไม่อยากให้เห็นว่า การใช้ความคุ้มกัน เป็นการให้หมดอายุความไป แต่เรื่องนี้ต้องเป็นสปริตของฝ่ายนิติบัญญัติควรใช้ช่องทางนี้หรือไม่
“ประชาชนคาดหวังว่ารัฐหรือประเทศนี้ กระบวนการสุดท้ายจะเป็นที่พึ่ง การคาใจว่า หมดอายุความดำเนินคดีไม่ได้ ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าผิดอย่างไร ยังไปไม่ถึงที่สุดถ้าจำเลยอาศัยช่องอายุความ โดยไม่มีการพิสูจน์ความจริงอย่างเต็มที่ก็น่าเสียดาย”
นายปรีดา กล่าวย้ำว่า คดีตากใบ เป็นคดีอาญามีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บจำนวนมาก แต่กระบวนการตั้งแต่พนักงานสอบสวน อัยการ ซึ่งได้เห็นข้อเท็จจริงปรากฏมาตั้งแต่ต้น จนจะสิ้นอายุความ 2 พอประชาชน ทวงถามว่าคดีถึงไหนแล้ว ผ่าน กมธ.กฏหมาย จึงมีการส่งหนังสือไปยังอัยการสุงสุดเมื่อวันที่ 25 เม.ย.67 ว่ามีการตั้งคดีอาญามาใหม่
“เราทราบจากข้อมูลที่ญาติยื่นคำร้องไป ว่ามีการตั้งคดีอาญามาใหม่ของ สภ.หนองจิก แต่เป็นที่น่าสงสัยว่า ที่ผ่านมาเกือบ 20 ปีทำอะไรกันอยู่และอัยการสั่งให้สอบสวนคดีอาญาอีกครั้ง ยังไม่คืบหน้า”
ทนายความ กล่าวว่า อยากส่งเสียงไปยังรัฐสภา ที่อยากเห็นสปริตของ สส.ในฐานะฝ่ายนิติบัญบัติเคารพกฏหมายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วย