DEEPSOUTH

ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย เสริมสร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์ – อัตลักษณ์มลายู

ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย เสริมสร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์มลายู ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในแผนสันติภาพ JCPP การพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐไทยกับ BRN

การลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ศาสตราจารย์ พลเอก ตันศรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบิดิน ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ได้เข้าพบ นายแวดือราแม มิมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี มีการแลกเปลี่ยนการทำงานเพื่อสนับสนุนการสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งที่มาผ่านมีการส่งเสริมด้านภาษาให้มีสถานบันภาษามลายูที่ถูกต้องเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์มลายู และการให้สำนักงานอิสลามมีบทบาทในด้านศาสนามากขึ้น และ นายซาฟาอี เจ๊ะเล๊าะประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ซึ่งพร้อมสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ และผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย เห็นว่าสามารถให้ความรู้และเชิญชวนประชาชนมาร่วมสนับสนุนการพูดคุยเพื่อสันติภาพให้ประสบความสำเร็จได้

นอกจากนี้ ศ.พล.อ.ตันศรี ไซนัล อะบิดิน ได้เยี่ยมชม มัสยิดตะโละมาเนาะ หรือ มัสยิดวาดีลอูเซ็น จะมีอายุครบ 400 ปี นับจากสร้างขึ้นในปี 2167 ถือเป็นศาสนสถานสำคัญในศาสนาอิสลามและประวัติศาสตร์มลายู เพราะสร้างด้วยเครื่องไม้ดั้งเดิม มีสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างมลายู ไทยและจีน จึงกลายเป็นมัสยิดที่ตั้งตระหง่านอยู่หน้าเทือกเขาบูโด บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ผ่านการบูรณะมาหลายครั้งแต่การรักษามัสยิดโบราณแห่งนี้ไว้ได้ ส่วนสำคัญมาจากคนในชุมชน

นายรัมลี ต๊ะโละดิง อิหม่ามประจำมัสยิดวาดีลอูเซ็น นำศาสตราจารย์ พลเอก ตันศรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบิดิน ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ละหมาด และเล่าถึงประวัติของมัสยิดตะโละมาเนาะ ที่นอกจากเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลามแล้ว ยังเป็นความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์วัฒนธรรมมลายูด้วย

ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ยังได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัล-กุรอาน โรงเรียนสมานมิตรวิทยา บ้านศาลาลูกไก่ ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีการรวบรวมคัมภีร์อุล-กุรอาน โบราณที่เขียนด้วยลายมือ มากกว่า 78 เล่า อายุตั้งแต่ 150 ปี ถึง 1,112 ปี เช่นคัมภีร์อัลกุรอานโบราณที่ทำจากหนังแพะเล่มนี้มาจากประเทศเยเมน อายุกว่า 1 พันปี ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ทำให้ได้รับการยอมรับจากประเทศมุสลิมส่งอัลกุรอานมาให้เก็บรักษา จึงกลายเป็นแหล่งรวมประวัติศาสตร์อารยธรรมมลายู นูซันตารา และอาหรับ เช่นเอกสารภาษามลายู หนังสือที่เขียนโดยอุสตาสคนสำคัญในประวัติศาสตร์มลายูปาตานี เช่น อุสตาส หะยีสุหลง โต๊ะมีนา 

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้โบราณ เช่น หีบเก็บอุปกรณ์หนังชวาโบราณ ที่ใช้แสดงหนังตลุงมลายูในสมัยลังกาสุกะให้หันมานับถือศาสนาอิสลามตามแนวทางสันติวิธี ยังมีตู้เย็นไม้โบราณ กริช หม้อหุงข้าว เครื่องร่อนทอง ที่อุสตาส มะหะมะลุตฟี หะยีมาแล ผู้บริหารโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ได้รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ จนได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร เตรียมสร้างพิพิธภัณฑ์ และหลายประเทศมุสลิมก็พร้อมสนับสนุน รวมถึงมาเลเซีย ที่ผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เห็นด้วยกับการส่งเสริมประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนสันติภาพ JCPP ที่ตกลงร่วมกันระหว่างคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพของไทยและบีอาร์เอ็น

“ที่นี่มีสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของชาวมลายูมากมาย และมีการประกอบพิธีทางศาสนาระดับโลกมากมาย การรักษาอัตลักษณ์ตัวตนของพวกเขาเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการสร้างสันติภาพ ที่เรากำลังทำอยู่ด้วย”

ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ยังได้เข้าพบนายแวดือราแม มิมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี มีการแลกเปลี่ยนการทำงานเพื่อสนับสนุนการสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งที่มาผ่านมีการส่งเสริมด้านภาษาให้มีสถานบันภาษามลายูที่ถูกต้องเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์มลายู และการให้สำนักงานอิสลามมีบทบาทในด้านศาสนามากขึ้น 

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat