BUSINESS

ลาซาด้า เผยแพร่รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2566 ยึดกรอบ 4 เสาหลัก สร้างผลกระทบเชิงบวก

ลาซาด้า เผยแพร่รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ประจำปี 2566 ในชื่อ “เติมเต็มคุณค่าให้ชีวิต ต่อยอดความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน” รวบรวมผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ภายใต้กรอบ ESG ด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน การสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ

เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า ตามที่ได้เผยแพร่รายงานด้านผลกระทบ ESG ฉบับที่สอง มั่นใจว่าความยั่งยืนจะยังคงเป็นแกนหลักในการเดินหน้า โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงความรับผิดชอบของธุรกิจ แต่ยังเป็นโอกาสและความมุ่งมั่นที่มีต่ออนาคต เชื่อว่าความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในเศรษฐกิจดิจิทัล

สำหรัยรายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2566 ของลาซาด้า นำเสนอภาพรวมและความคืบหน้าของการดำเนินงานด้าน ESG ดโยมีไฮไลท์สำคัญ ประกอบด้วย

1.การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ลาซาด้าสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กว่า 1.1 ล้านคน จากทุกภาคส่วน ประกอบด้วยผู้ขาย ผู้ให้บริการด้านการค้าดิจิทัล คู่ค้าโลจิสติกส์ รวมถึงพนักงาน ส่วนด้านการให้บริการ โครงสร้างพื้นฐาน และการเสริมสร้างขีดความสามารถ เพื่อส่งเสริมชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ได้เข้าร่วมการประชุม APEC 2022 เพื่อสนับสนุนโครงการที่พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลาง และเล็ก รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย (MSMEs) ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อีกทั้งยังได้รับรางวัลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 2 รางวัล จากการสนับสนุนและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ของหอการค้าอเมริกันในเวียดนาม

2.การสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนความหลากหลายกว่า 32 สัญชาติ อีกทั้งยังมี GROW แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ของลาซาด้า ที่เปิดสอนกว่า 1,000 หลักสูตรสำหรับพนักงานในทุกประเทศ

3.การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม โดยลาซาด้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลงถึง 10% เมื่อเทียบกับกรอบเวลาการรายงานครั้งก่อน อีกทั้งยังมีโครงการจุดเชื่อมต่อการขนส่งในอินโดนีเซีย ลดการเดินทางกว่า 20,000 เที่ยว จากกิจกรรมการขนส่งทางถนนที่ลดลง และยังช่วยลดการใช้รถบรรทุกขนส่งแยก

4.การกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งขึ้น รวมถึงยังมีแนวปฎิบัติและกระบวนการด้านการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) ทั้งในด้านนโยบาย โครงการ เครื่องมือ และทรัพยากร

Related Posts

Send this to a friend