“เป้าหมายของโครงการนี้มี 2 ส่วนคือ 1. การพัฒนานวัตกรรม วิธีการเรียนรู้ให้เด็กนอกระบบการศึกษาและด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ 2.การส่งเสริมการรู้หนังสือให้เด็กนอกระบบการศึกษาและด้อยโอกาสโดยการอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของทุกวิชา เด็กและผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพราะยิ่งอ่านมากก็จะทำให้เด็กมีทุนการศึกษา ซึ่งจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองส่วนหนึ่งอีกด้วย” น.ส.ธันว์ธิดา กล่าว
น.ส.นิสา แก้วแกมทอง ผอ.สำนักพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เชิงพื้นที่ กล่าวว่า ความสำคัญของกลไกจังหวัดในการมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสที่เสมอภาคให้แก่เด็กนอกระบบการศึกษานั้น ซึ่งทั้ง 4 จังหวัดนำร่องจะเป็นกลไกในค้นหากลุ่มเป้าหมาย ประสานเชื่อมโยง และติดตามผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของเด็กร่วมกับ ยูเนสโกและ กสศ. พัฒนาเป็นกลไกการทำงานในพื้นที่ที่ยั่งยืนต่อไป
ขณะที่ นายอิชิโร กล่าวว่า ตัวอย่างการดำเนินการที่ผ่านมาได้ทำโครงการนำร่องช่วงปี 2562 ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กข้ามชาติและกลุ่มเปราะบางจำนวน 150 คน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปทุมธานี โดยเปิดให้เด็กอ่านหนังสือผ่านแอปพลิเคชัน LearnBig และใช้เกณฑ์การให้คะแนนโดยพิจารณาจากความต่อเนื่องในการอ่าน ระยะเวลาในการอ่าน การตอบคำถามจากหนังสือ และความพยายาม ซึ่งจะนำปัจจัยต่างๆ มาพิจารณาเป็นเกณฑ์ให้ทุนการศึกษาสูงสุด 800 บาทต่อเดือนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 ของรายได้เฉลี่ยของผู้ปกครอง