ปภ.รายงานเกิดสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” รวม 30 จังหวัด เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย
วันนี้ (29 ก.ย. 64) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ในช่วงวันที่ 23 – ปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 30 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม 172 อำเภอ 805 ตำบล 4,715 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 197,795 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 7 ราย สูญหาย 1 ราย มีผู้เสียชีวิต 7 ราย (ลพบุรี 6 ราย และเพชรบูรณ์ 1 ราย) สูญหาย 1 ราย (เพชรบูรณ์ 1 ราย)
ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 13 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก บุรีรัมย์ นครปฐม ยโสธร สุรินทร์ เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี และปราจีนบุรี) ยังคงมีสถานการณ์ 17 จังหวัด ดังนี้
- สุโขทัย น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมืองสุโขทัย ระดับน้ำลดลง อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ พิษณุโลก น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอวังทอง ระดับน้ำทรงตัว
- เพชรบูรณ์ เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองไผ่ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอบึงสามพัน ระดับน้ำทรงตัว
- พิจิตร น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบึงนาราง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล และอำเภอสามง่าม ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร ระดับน้ำทรงตัว อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ
- กำแพงเพชร เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่อำเภอปางศิลาทอง ระดับน้ำทรงตัว
- ขอนแก่น น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอแวงน้อย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำทรงตัว อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ
- ชัยภูมิ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส อำเภอเนินสง่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอคอนสาร อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านแท่น อำเภอคอนสวรรค์ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ จุดอพยพศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองยังไม่มีผู้พักพิง
- นครราชสีมา น้ำล้นอ่างเก็บน้ำเข้าท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านขุนทด อำเภอสูงเนิน อำเภอโนนสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอพิมาย อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนโทย อำเภอคง อำเภอพระทองคำ อำเภอจักราช อำเภอสีดา อำเภอขามสะแกแสง และอำเภอบ้านเหลื่อม ระดับน้ำเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ
- อุบลราชธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ
- นครสวรรค์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลาดยาว และอำเภอท่าตะโก ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำทรงตัว อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ
- อุทัยธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอลานสัก อำเภอบ้านไร่ และอำเภอทับทัน ระดับน้ำทรงตัว
- ชัยนาท เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ อำเภอเนินขาม และอำเภอหันคา ระดับน้ำทรงตัว
- ลพบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอท่าวุ้ง อำเภอพัฒนานิคม ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- สุพรรณบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำทรงตัว
- สิงห์บุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอค่ายบางระจัน ระดับน้ำทรงตัว
- อ่างทอง น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ ระดับน้ำทรงตัว
- พระนครศรีอยุธยา น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา และอำเภอบางบาล ยังน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง ซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบขนาดใหญ่เพื่อเร่งระบายน้ำแล้ว
ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ โดยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง