AROUND THAILAND

กรมชลประทาน แถลงผลการจัดการน้ำฤดูแล้งได้ตามแผน พร้อมเดินหน้าจัดการน้ําฤดูฝนเต็มศักยภาพ

วันนี้ (9 พ.ค. 65) ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ําอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการแถลงข่าว “สรุปการบริหารจัดการน้ํา ฤดูแล้งปี 2564/65 และเตรียมรับมือฤดูฝน ปี 2565” โดยมี นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมแถลงข่าว พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน และ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ก่อนทําพิธีปล่อยคาราวานเครื่องจักรกลช่วยเหลือประชาชน ในช่วงฤดูฝน ผ่านระบบ Video Conference ไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า การบริหารจัดการน้ําฤดูแล้งปี 2564/65 ได้สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมานี้ ผลการจัดสรรน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตร รวมไปถึงการ ควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ําสายหลักต่างๆ เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้ง โดยปฏิบัติตามมาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ําฤดูแล้งปี 2564/65 ทั้ง 8 มาตรการอย่างครบถ้วน อีกทั้งยังมีปริมาณน้ําสํารองนํ้าไว้ใช้ ในช่วงต้นฤดูฝนปี 2565 ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“สําหรับการจัดสรรน้ําในภาพรวมทั้งประเทศ พบว่ามีการใช้น้ําไปทั้งสิ้น 22,998 ล้าน ลบ.ม. (แผนจัดสรรน้ําทั้ง ประเทศจัดสรรไว้รวมทุกกิจกรรม 22,280 ล้าน ลบ.ม. สํารองน้ําต้นฤดูฝน 15,557 ล้าน ลบ.ม.) เกินแผนที่ตั้งไว้ เล็กน้อย ด้านผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ มีการเพาะปลูกรวมกว่า 8.11 ล้านไร่ (แผนวางไว้ 6.41 ล้านไร่) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปีนี้เราส่งน้ําเกินแผนไปประมาณ 718 ล้าน ลบ.ม. แต่เกษตรกรสามารถทําการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้เพิ่มอีก 1.7 ล้านไร่ ซึ่ง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ ได้ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรให้ชะลอการทํานาปรัง เนื่องจากมีปริมาณน้ําไม่เพียงพอ แต่ในฤดูแล้งที่ผ่านมา กรมชลประทานสามารถบริหารจัดการน้ําในช่วงฤดูแล้ง ตามปริมาณน้ําต้นทุนที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยการจัดสรรน้ําอย่างประณีต ทําให้พี่น้องเกษตรกรในเขตชลประทานมีรายได้จากการเพาะปลูกพืช ส่วนน้ําสํารองต้นฤดูฝนที่เราคาดการณ์ไว้ว่าจะต้องสํารองประมาณ 15,557 ล้าน ลบ.ม. ปรากฏว่าในวันเริ่มต้นฤดูฝน วันที่ 1 พ.ค. 65 เรามีน้ําต้นทุนอยู่ 19,950 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 4,393 ล้าน ลบ.ม. ถือว่าเป็นกําไร นอกจากนี้ ยัง ได้ดําเนินโครงการจ้างแรงงานชลประทานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ที่จนถึงขณะนี้มีการจ้างงานไปแล้วกว่า 74,000 คน” นายประพิศฯ กล่าว

ในส่วนของสถานการณ์ฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2565 กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าปีนี้จะเริ่มประมาณ กลางเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งใกล้เคียงปกติและจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยปริมาณฝนรวมของทั้ง ประเทศในช่วงฤดูฝนตกมากกว่าค่าปกติร้อยละ 3 ซึ่งต่ำกว่าปี 2564 ที่ผ่านมา ที่มีฝนตกสูงกว่าค่าปกติถึงร้อยละ 8 ทั้งนี้ ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมจะเป็นช่วงที่ฝนจะตกน้อย หลังจากนั้นฝนจะตกชุกหนาแน่นในช่วงเดือน สิงหาคมถึงกันยายน

สําหรับแผนการจัดสรรน้ําและการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี 2565 กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ํา โดย ส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูฝนให้ใช้น้ําฝนเป็นหลัก ใช้น้ําชลประทานเสริมกรณีฝนทิ้งช่วงหรือปริมาณฝนตกน้อยกว่า คาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่สําคัญได้วางแผนบริหารจัดการน้ําภายใต้มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 ทั้ง 13 มาตรการ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 โดยได้เตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย ด้วยการกําหนดวิเคราะห์พื้นที่ เสี่ยงน้ําท่วม ปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ํา ปริมาณน้ําในลําน้ํา กําหนดคน กําหนดผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต่างๆ ที่อาจจะได้รับ ผลกระทบ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานจังหวัด ร่วมกันติดตามและวิเคราะห์หรือคาดการณ์สถานการณ์น้ําในลําน้ํา การจัดสรรทรัพยากร เช่น เครื่องสูบน้ํา เครื่องจักรกล รถขุด รถแทรกเตอร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา โดยในวันนี้ได้มีการปล่อยคาราวานเครื่องจักรกลและเครื่องมือต่างๆ ที่ประจําอยู่ที่ศูนย์บริหารเครื่องจักรกลที่ 1-7 ของสํานักเครื่องจักรกล จํานวนรวม 5,382 หน่วย ออกไปเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนทั่วประเทศตลอดช่วงฤดูฝน

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat