AROUND THAILAND

’กสศ.‘ เผย 1 ปีมีเด็กกลับสู่ระบบการศึกษา กว่า 3 แสนคน ตั้งเป้า TZD ให้ได้ในปี 2570

’กสศ.‘ เผย 1 ปีมีเด็กกลับสู่ระบบการศึกษา กว่า 3 แสนคน ตั้งเป้า TZD ให้ได้ในปี 2570 ผลักดันตั้งกรรม ทั้ง 77 จังหวัด ภายใน 1-2 เดือน ผจก.กสศ.ชี้ การสร้างการศึกษาที่ยืดหยุ่น ถือเป็นความท้าทายของระบบการศึกษาไทย

วันนี้ (6 ม.ค. 68) ที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) อาคารเอส.พี. ทาวเวอร์ เปิดบ้านต้อนรับเครื่อข่ายสื่อมวลชน และจัดสัมนาในหัวข้อ “ Exclusive Seminar ถอดรหัสการช่วยเหลือเด็กนอกระบบ ข้อค้นพบจากชีวิตจริงและปมปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้” โดยมี ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. ,นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. ,รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง อนุกรรมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาเยาวชนและแรงงานนอกระบบ กสศ. ,นายนเรศ สงเคราะห์สุข รองหัวหน้าโครงการหนุนเสริมทางวิชาการและการจัดการความรู้สำหรับการพัฒนาเยาวชนนอกระบบการศึกษา กสศ. ,นายทรงวุฒิ อัศวพฤกษชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเด็กนอกระบบ กสศ. และ นางสาวชุติมา พัฒนพงศ์ นักวิชาการอาวุโส กสศ. เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ด้วย

ดร.ไกรยส กล่าวว่า หลังจาก กสศ.เปิดเผยตัวเลขเด็กที่หลุดนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย มีมากกว่า 1.02 ล้านคน และเริ่มโครงการ Thailand Zero Dropout จนรัฐบาลรับลูกประกาศเป็นนโยบายในงานวันเด็ก ปี 2567 ก็มีการตื่นตัวพอสมควร เริ่มมีเด็กทยอยกลับเข้ามาจำนวนกว่า 300,000 คน หรือคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 30% ในเด็กที่ทยอยกลับเข้ามา และหากใครที่ติดตามก็คงทราบว่าเด็กที่กลับเข้ามาก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่จำนวนเด็กที่ออกจากระบบการศึกษาก็เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ตัวเลขจริงๆ ก็จะลงมาอยู่ประมาณ 30,000 คน ทำให้ยังมีเด็กหลุดนอกระบบ ประมาณ 980,000 คน เพราะจะมีกลุ่มใหม่ที่ ซึ่งเด็กที่กลับเข้ามาในจำนวนกว่า 300,00 คนนั้น ถือเป็นความคืบหน้าที่สำคัญที่เราได้เห็นในปีที่ผ่านมา

ในจำนวนเด็กที่กลับเข้ามาในระบบจำนวนกว่า 300,000 คนนั้น ตรงตามเป้าหมายที่ กสศ. ตั้งไว้หรือไม่ ดร.ไกรยส เผยว่า ตอนนี้ กสศ.ได้มีการตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดที่กำลังตั้งอยู่ ซึ่งเราอยากเห็นคณะกรรมการระดับจังหวัดนี้เกิดขึ้นในทั้ง 77 จังหวัด ภายใน 1-2 เดือนนี้ ขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดแล้ว จำนวน 25 จังหวัด ด้านผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดหลังมีหนังสือเวียนจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว และกลไกของระดับจังหวัดกำลังเริ่มต้น ดังนั้นพื้นที่ที่เราหวังในปี 68 คือ ทั้ง 77 จังหวัด จะมีกลไกระดับกรรมการจังหวัด และผู้ว่าฯ ให้ความสำคัญ และติดตามให้เด็กกลับเข้าสู่ระบบได้ เพราะ Thailand Zero Dropout เป็นเรื่องที่ต้องใช้การกระจายอำนาจในการแก้ไขปัญหา “1 ล้าน ก็คือ 1 ล้านสาเหตุ” และการที่คนใกล้ตัวมากที่สุดเป็นคนค้นหา และติดตามเด็กเข้ามาตามบริบทของเด็กนั้นจะเป็นวิธีทางที่ยั่งยืน ซึ่งส่วนกลางจะได้ในเชิงของการส่งข้อมูลให้ และเครื่องมือในการติดตามพาเด็กกลับเข้ามาสู่ในระบบ แต่การหาทางออกที่ยั่งยืนของเด็กแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องของชุมชนและท้องถิ่นที่จะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้

1 ปีที่ผ่าน ปัญหานี้ถูกยกระดับให้เป็นปัญหาระดับชาติ และมีคณะกรรมการระดับชาติถือเป็นทิศทางหรือพัฒนาการที่ดีหรือไม่ ดร.ไกรยส ระบุว่า ในประเทศไทยในกลุ่มประเทศอาเซียนมีการลงนามในปฏิญญาสากลเรื่องของเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษามาตั้งแต่สมัย บารัก โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จริงๆ ก็ 10 ปีแล้ว แต่ตั้งแต่มีปฏิญญาประเทศอาเซียนตรงนั้นเรื่องของเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาก็ถูกยกระดับขึ้นมา เป็นนโยบายของรัฐบาลสำเร็จเมื่อปีที่ผ่านมา หากมองย้อนกลับไปในภาพที่กว้างมากขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่รัฐบาลยอมรับตัวเลขที่มีอยู่และมีนโยบายออกมาที่ชัดเจนในการแก้ปัญหาเรื่องนี้

หลังจากนี้จะเป็นงานในการค้นหาเด็กให้เจอเพื่อนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาไม่ใช่เพียงแค่โรงเรียนแต่เด็กหลายๆ คนอาจจะมีการศึกษาที่ยืดหยุ่นเส้นทางการฝึกอาชีพหรือเส้นทางที่มีการสอดคล้องกับศักยภาพของบุคคล ซึ่งตรงนี้ก็ถือเป็นความท้าทายของระบบการศึกษาไทยว่ามีความยืดหยุ่นมากขึ้นหรือไม่

ส่วนรูปแบบการสื่อสารหรือการจัดการเด็กนอกระบบการศึกษาสำคัญอย่างไรบ้าง ดร.ไกรยส เผยว่า สำคัญอย่างมากเพราะเมื่อค้นหาเจอตัวเด็กนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เรารู้ว่าการแก้ไขปัญหาในเด็กหนึ่งคนอาจจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพ เกี่ยวข้องกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ซึ่งการทำงานร่วมกันของแต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานในท้องถิ่น เป็นความท้าทายว่าจะเกิดขึ้นได้จริงๆ หรือไม่ ในระดับ 77 จังหวัด และมาตรการที่เราจะมีข้อเสนอในช่วงวันเด็ก (11 ม.ค.) ที่จะถึงนี้ คือเรื่องของการสร้างการศึกษาที่ยืดยุ่นที่จะเกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายของระบบการศึกษาไทยจะสามารถก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ในช่วงใกล้ถึงครึ่งหลังแล้วว่าเราจะมีการศึกษาที่ยืดหยุ่น อาทิ โรงเรียน 3 รูปแบบ , Mobile school หรือศูนย์การเรียนรู้ตามมาตรา 12 ได้หรือไม่ และได้ในพื้นที่ที่กว้างขวางไม่ใช่เฉพาะแค่บางจังหวัด แต่ต้องเกิดขึ้นในทุกๆ จังหวัด

“เด็กที่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลักมีบัตรประชาชนที่จะสามารถไปเรียนรู้ได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ เหมือนกับที่เรามีบัตรประชาชนรักษาได้ทุกที่ และการศึกษาสามารถศึกษาได้ทุกที่จะเกิดเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้หรือไม่ ตรงนี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของภาคต่อในเรื่องนี้” ดร.ไกรยส กล่าว

ในปีนี้มีการตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ดร.ไกรยส ระบุว่า ทั้ง 77 จังหวัด จะต้องมีกลไกเกิดขึ้นได้ครบทุกพื้นที่ และมีการค้นหาเด็กให้ได้ครบตามเป้าหมายที่แต่ละจังหวัดที่ตั้งกันไว้ และคาดหวังว่าจะได้ 100% ในการค้นหาในเชิงการค้นหา เพราะการค้นหาคือจุดเริ่มต้นที่เราจะวางแผน วางงบประมาณในปีต่อๆ ไป และสามารถเริ่มต้นที่จะเข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะต้องทำไปด้วยและเรียนรู้ไปด้วยว่าทำไมเด็กกลุ่มนี้ถึงเลือกออกมา มีกี่กลุ่มกี่ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขในปีต่อๆ ไป

ดร.ไกรยส กล่าวต่อว่า การค้นหาและการส่งต่อเป็นจุดเริ่มต้น การทำให้การศึกษาที่มีความยืดหยุ่น เพื่อเด็กเหล่านี้กล้าที่จะกลับเข้าไปเพราะเด็กแต่ละคนต่างมีบาดแผลถึงเลือกออกมาตั้งแต่แรก ฉะนั้นวิธีการในการนำเด็กกลับเข้ามาและนับจำนวนว่าได้เท่าไหร่เป็นวีธีการที่ต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้นสิ่งที่เราควบคุมได้คือการค้นหาและค้นหาให้ได้ครบให้อยู่ในเรดาร์ในการวางแผนกลับเข้ามาและนี่คือสิ่งที่เราคาดหวังในปี 68

Related Posts

Send this to a friend