POLITICS

‘พิชัย‘ เผย ผลหารือ นายกฯ – กกร. ตั้ง กรอ. หารือเอกชนร่วมภาครัฐบ่อยขึ้น

แนะ แก้ปัญหาด้านฎหมายปราบปรามจีนเทา – การจัดการน้ำ – ธุรกิจรายย่อย – หนี้ครัวเรือน ชี้ ต้องทำอย่างบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน

วันนี้ (28 ต.ค. 67) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชัย ชุณหวิชร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายสนั่น อังอุบลกุล ในฐานะประธาน กกร. และประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, นายผยง ศรีวณิช ประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย และ นายสุธีร์ สธนสถาพร ผู้อำนวยการสำนักงาน กกร. แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังหารือร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

นายพิชัย กล่าวว่า วันนี้มีการหารือกัน 4 – 5 เรื่องในการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้ ซึ่งสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มพูดคุยกันหลายครั้งแล้ว และน่าจะมีข้อยุติในการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือน เอสเอ็มอี ว่าทำอย่างไร และคงประกอบการช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และมีการพูดถึงหนี้ครัวเรือนในส่วนรถกระบะ ที่เป็นเครื่องมือทำมาหากิน โดยถ้ามียอดการซื้อเพิ่มขึ้น ก็หมายความว่าประชาชนต้องการนำรถกระบะไปใช้หากิน

นายสนั่น กล่าวว่า สภาหอการค้าไทยมีกลไกประสานงานชวนหอการค้าไทย – จีน สถานทูตจีนประจำประเทศไทย โดยให้ผู้ประกอบการรายใหญ่กว่า 300 บริษัท ที่จะลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจ ได้ตั้งกลไก และพูดคุยกันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เขาให้ความสำคัญในการมาลงทุน ดังนั้น ถ้าเรากฎหมายที่ใช้ปราบปรามคนที่ไม่สุจริต มาตรฐานคุณภาพที่ไม่ดี ธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่ไม่ผ่านธนาคาร รัฐบาลจีนพร้อมให้การสนับสนุน ขอให้เราออกกฎหมายมาได้ เช่นการเก็บภาษี ซัพพลายเชนที่ออกมาจากรถอีวี อยากให้ผู้ประกอบการใหญ่ พูดคุยให้ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วน และนำเทคโนโลยีมาให้เราได้

ส่วนราคาสินค้าที่ผิดกฎหมาย เขาอยากให้หน่วยงานภาครัฐปราบปรามเต็มที่ และให้ความร่วมมือฉันมิตร ดังนั้น ถ้ามาด้วยความบริสุทธิ์ใจ เราก็คิดว่าปัญหาต่าง ๆ คงจะสามารถแก้ไขได้

นายสนั่น เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีรับปากตั้ง คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ในการพบกันหกเดือนครั้ง เพื่อพูดคุยอย่างเป็นทางการ ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากนี้ เรานำเสนอ โดยนายพิชัย ตอบรับว่าจะกระตุ้นเร็ว และเสนอโครงการคนละครึ่ง Easy Recipe E-Recipe และขณะเดียวกัน อยากให้เร่งทำก่อนช่วงเทศกาลปีใหม่ พร้อมยินดีพิจารณาร่วมกัน

นายสนั่น ระบุว่า โครงการเติมเงิน 10,000 บาทในเฟสสอง ซึ่งจากเศรษฐกิจที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งจำเป็น ประชาชนต้องการเม็ดเงินจับจ่าย และทำให้จับจ่ายได้ดีสำหรับคนขายของ โรงงานก็มีงานทำมากขึ้น

นายเกรียงไกร ระบุว่า สภาอุตสาหกรรมนำเสนอเรื่องการแก้ไข และเพิ่มขีดความสามารถให้กลุ่มเอสเอ็มอี เรื่องที่เขาต้องการที่สุด คือเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงิน เพราะยังเข้าถึงได้ไม่เต็มที่ และช่วงที่ผ่านมามีความระมัดระวัง กลุ่มเอสเอ็มอีก็ได้รับผลกระทบหนักมาก และภาระต้นทุนต่าง ๆ เราก็ต้องช่วยลด รวมถึงเรื่องกฎหมาย กติกาต่าง ๆ ที่พบว่ากฎหมาย และกติกาที่มากมาย เป็นต้นทุนแฝง ทำให้อยู่ในสัดส่วน 30 – 50% ของเอสเอ็มอีในแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน หากเปรียบเทียบกับบริษัทใหญ่ ๆ ที่จะอยู่ที่ต้นทุนน้อยมาก เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอี

สภาอุตสาหกรรมมีมาตรการในการเปลี่ยนแปลงกลุ่มเอสเอ็มอีให้แข่งขันได้ คือ 4 Go

1.Go Digital และ Ai ทำให้เอสเอ็มอีเข้าถึงดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น เรามีโครงการดิจิทัล วัน ให้เข้าถึงในราคาที่ถูกมาก

2.Go Innovation เอสเอ็มอีต้องจิ๋วแต่แจ๋ว ทำให้มีนวัตกรรมให้ได้

3.Go Global เน้นการส่งออก ขายทั่วโลกด้วยแพลตฟอร์มและกลไกต่าง ๆ และภาคการผลิตต้องเข้าใจมาตรฐานอุตสาหกรรมใหม่ให้ได้

4.Go Green เข้าใจมาตรการรักสิ่งแวดล้อม และลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้

เรื่องต่อมาที่มีการนำเสนอ คือเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ประเทศไทยมีทั้งน้ำท่วมน้ำแล้ง เราต้องนำสิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็งของประเทศให้ได้ ในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และแก้ปัญหานี้ เพราะภาคการเกษตร ที่กำลังเป็นดาวรุ่งในอนาคต ทั่วโลกต้องการอาหาร อย่างสงครามที่มาทุกประเทศต้องการอาหาร จะถือเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมเกษตร โดยน้ำมีส่วนสำคัญมาก และยังมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมก็จำเป็นต้องใช้น้ำมหาศาล และการแก้ปัญหาน้ำท่วมในปีหน้าว่าจะทำอย่างไร ให้น้ำที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ต้องมีระบบการเตือนภัย และการดูลุ่มน้ำทุกลุ่มน้ำในประเทศ และบูรณาการเป็นข้อมูลเดียวกัน

นายผยง กล่าวว่า สมาคมธนาคารไทยเร่งยืนยันตัวตนกลุ่มเปราะบาง และความจำเป็นในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งสรุปภายใน 1 – 2 สัปดาห์นี้ และน่าจะมีผลออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีผลครอบคลุมตั้งแต่บ้านหลังแรก ที่ดินทำมาหากิน ผู้ประกอบการรายเล็ก ให้ขึ้นมาประกอบอาชีพ และนำสู่ความสามารถในการมีรายได้ สร้างความมั่นคงของชีวิต ซึ่งจากคู่ขนานไปกับการหาแหล่งเงินทุนจากทางภาครัฐ และระบบธนาคารพาณิชย์ และการดำเนินการในระยะเวลาที่เหมาะสม รอมาตรการระยะกลางของรัฐบาล ทั้งการเพิ่มรายได้รายได้ เพิ่มความสามารถการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า ในเรื่องยืนยันทักษะแรงงาน รวมไปจนถึงการดึงภาคเอกชน กลุ่มบริษัทรายใหญ่ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เข้ามามีส่วนร่วมในกลุ่มซัพพลายเชน ในการจัดซื้อ แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

นายผยง กล่าวต่อว่า การยืนยันตัวตนกลุ่มต่าง ๆเพื่อประคับประคองการดูแลหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นระบบ ทั้งการลดภาระ ลดดอกเบี้ย ลดเงินต้น ทั้งหมดเป็นการลดภาระ เราเจาะจงภาพรวม และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และไม่ใช่แก้แบบเทศกาล แต่เป็นจุดตั้งต้นของการนำไปสู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางให้ได้

ส่วนจำนวนกลุ่มเปราะบางจะมากขนาดไหนนั้น จะดูเฉพาะกลุ่มที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งคนที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ก็ยืนได้ด้วยตัวเองได้ ซึ่งวันที่ได้รับจากภาครัฐ และภาคเอกชนต้องให้คนที่จำเป็นต้องมีความช่วยเหลือจริง ๆ

ส่วนเป้าหมายว่าต้องลดหนี้ครัวเรือนเท่าไหร่นั้น ตนเองมองว่า หากมีตัวเลขจะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นเกินไป สิ่งที่เราจะจำเป็นต้องดู คือการสอดสัมพันธ์กับมาตรการระยะกลาง และระยะยาว จำเป็นต้องให้เขามีทักษะที่เหมาะสมในการสร้างรายได้ มีโอกาสที่เหมาะสมในการแข่งขันรายใหญ่ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การบริโภคแบบฟุ่มเฟือย ซึ่งต้องแยกแยะให้ชัดเจน มิเช่นนั้น จะมีการใช้ทรัพยากรของระบบ โดยเฉพาะเงินจากภาครัฐ ที่สามารถนำไปบูรณการด้านอื่นได้ โดยน่าจะได้ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมประมาณ 1 – 2 สัปดาห์

นายพิชัย กล่าวสรุปว่า การแก้ปัญหานี้จะแก้ในลักษณะภาคธุรกิจต้องมาประสานกับภาคอุตสาหกรรมว่าจะทำอย่างไร ซึ่งจะมาดูเรื่องระยะสั้น ระยะยาว แต่ระยะสั้นที่สุด คือ การแก้ไขปัญหาเรื่องการเงินในการลดภาระ ในแง่จำนวนหนี้ อาจลดได้ไม่มาก ซึ่งต้องดูจากอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินต้น ซึ่งเมื่อประกอบกันแล้วกับทุกภาคส่วน หากหนี้ลดลงไม่มาก แต่รายได้เพิ่มขึ้น จะเป็นอีกวิธีที่แก้ไข

”รัฐบาลถือว่าทั้งสามท่านนี้ เป็นพาร์ทเนอร์ ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาของเราที่จะแก้กัน เพื่อให้เดินไปได้ และในส่วนภาครัฐ นอกจากการมีนโยบายแล้ว อาจมีบางเรื่องที่ต้องแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย การปรับปรับปรุงเชิงโครงสร้างใหญ่ ๆ เช่นเรื่องน้ำ ที่จะต้องทำงานร่วมกัน และหลังจากนี้ จะมีการพบกันบ่อยขึ้น“ นายพิชัย กล่าว

นายพิชัย กล่าวถึงตัวเลขจีดีพี ว่า ทั่วประเทศในโลก ไม่ได้มุ่งเน้นลดแค่ค่าใช้จ่าย หรือหนี้อย่างเดียว ซึ่งต้องให้มีหนี้ที่เหมาะสม แต่ขณะเดียวกันต้องเร่งรายได้เพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ

สำหรับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ในการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟสสองนั้น ไม่ใช่คิดทีเดียวแล้วทำอย่างนั้นตลอดไป แต่ดูไปเรื่อย ๆ รวมถึงผลได้ผลเสีย ความเหมาะสม จังหวะเวลา และรับข้อคิดเห็นมาว่าการกระตุ้นด้วยแบบไหน ถึงจะผลที่สุด มีผลต่อเศรษฐกิจมากที่สุด ซึ่งจากดูภายในปีนี้ จีดีพีน่าจะโตกว่า 2.4% ที่เคยตั้งไว้เมื่อต้นปี แต่เกิดอุทกภัย ก็ทำให้ตัวเลขตกลงมาบ้าง แต่เชื่อว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ออกมาจะทำให้ตัวเลขจีดีพีใกล้เป้าหมายที่เราตั้งไว้ และจากโครงการที่เราทำ จะดึงตัวเลขจีดีพีขึ้นมาได้ 2.7 – 2.8

Related Posts

Send this to a friend